- 1. ชาว Pantip บอกแบบศาลาริมน้ำ สวยและแข็งแรงทำอย่างไร?
- 1.1. ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ จ้างช่างมาทำหน้าบ้านเลย
- 1.2. ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ศาลาไม้แสนสวยและเรียบง่าย
- 1.3. ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ทำเองในราคาไม่เกิน 35,000 บาท
- 1.4. ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ทำเองสรุปค่าใช้จ่าย
- 1.5. ชาว Pantip ขอสรุป แบบศาลาริมน้ำ สวยและแข็งแรงต้องคิดถึงอะไรบ้าง?
- 2. สรุปสุดท้าย : ชาว Pantip บอกว่าแบบศาลาริมน้ำปี 2022 สวยและแข็งแรง จะทำเองหรือจ้างช่างก็ได้
ชาว Pantip บอกแบบศาลาริมน้ำ สวยและแข็งแรงทำอย่างไร?
ศาลาริมน้ำ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับใครก็ตาม ที่ต้องการบรรยากาศเย็นๆ และชมทิวทรรศน์อยู่แถวริมน้ำ แต่ถ้าต้องให้ลงทุน สร้างแบบถึงขนาดทำศาลาริมน้ำขึ้นมาก็คงจะใช้ค่าใช้จ่ายมาก ชาว Pantip จึงอยากจะรวบรวมและบอกวิธีการสร้างศาลาริมน้ำแบบที่สามารถทำได้เอง จะเป็นแบบที่จ้างช่างให้มาทำ หรือทำเอง มาตั้งไว้ที่ริมน้ำเองก็ได้มีแบบไหนบ้างมาดูกัน
[3ประเภท] แบบบ้านชั้นลอย บ้านสวยมีเอกลักษณ์ ที่ชาวpantip แนะนำ
ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ จ้างช่างมาทำหน้าบ้านเลย
ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 อาทิตย์ ทำบ้างหยุดบ้างเพราะฝนตก ทำช่วงหน้าฝนพอดี ทำพร้อมไปกับทางเดินๆ ไปริมน้ำ
1. เริ่มจากการเคลียร์หน้าดิน ให้ราบเรียบสม่ำเสมอ
2. ลงเสาเข็มเพื่อทำพื้นศาลา ตั้งใจทำขนาดไม่ใหญมาก ประมาณ 5*3 เมตร เทปูนพื้นฐาน และทางเดินให้เรียบร้อย
3. ทำเสาและขึ้นโครงหลังคาต่อ มาถึงวัสดุมุงหลังคา ช่างบอกว่าแบบนี้เรียก single roof
4. ทำหลังคาเสร็จแล้วก็ทำเคาน์เตอร์ โดยใช้อิฐมวลเบาก่อ ฉาบให้เรียบร้อย
5. ปูกระเบื้อง ทางเดินและพื้นให้เรียบร้อย ทำทางระบายน้ำข้างทางเดิน
6. ติดตั้งประตู ช่องเก็บของ และเดินท่อติดตั้งสุขภัณฑ์สำหรับน้ำประปา
ศาลานี้จะอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว ใช้สำหรับการพักผ่อนและสามารถทำอาหารได้ด้วย
แต่โดยส่วนตัว ถ้าหาโต๊ะชุดสวยๆกว่านี้ได้จะดูดีขึ้นไปอีกมากเลยครับ
ไม่แน่ใจว่าที่นี่คือที่ไหน
แต่ปกติการก่อสร้างต้องขออนุญาต (ศาลาเข้าข่ายเป็นอาคาร)
ตามริมคลองหรือแหล่งน้ำมีกำหนดระยะร่นตามขนาดแหล่งน้ำ
ถ้าขนาดตามรูปผมว่าต้องมีร่นมากกว่า 12 เมตร
ไม่เกี่ยวว่าจะยื่นหรือไม่ยื่นไปในน้ำ
แต่ถ้าเทศบาลไม่ว่าอะไรก็ตามนั้นครับ
ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ศาลาไม้แสนสวยและเรียบง่าย
พื้นที่ซึ่งเทปูนไว้แล้ว ขนาด 2.8 * 1.75 เมตร ผมตั้งใจสร้างเป็นห้องเก็บของแบบไม่ถาวร ตั้งงบไว้ 15,000 บาท เอาจริงๆ หมดไป 20,000 บาท เพราะต้องซื้อวงกบ และประตูไม้จริงๆ มาแทนการทำเอง
1. ผมเลือกใช้โครงไม้ แทนโครงเหล็ก เพราะไม่มีเครื่องเชื่อมครับ ไม้ที่ใช้ก็ใช้ไม้ถูก คือ ไม้ยางสิ่งที่พบคือ ไม้ยาง บิดตัว ได้ง่ายมากๆ ทำให้โครงไม่ค่อยได้ฉากเท่าไร
2. จากโครงไม้ ก็ตีฝาสมาร์ทบอร์ดเข้าไป แผ่นละ 40 กิโลกรัม ผลคือ ยกไม่ขึ้น สุดท้าย เลยเชิญพี่ชายมาช่วย 2 คน ก็เลยยกและประกอบฝาทั้งหมดที่หนักเอาเรื่องจนเสร็จ
3. จากนั้น ก็มาจัดการประตู แต่ไม่สามารถ เนื่องจาก ตอนแรกจะวางแผนทำวงกบเอง และทำประตูจากไม้ฝา สิ่งที่ทำให้เป็นไปไม่ได้คือ ไม้ยางที่บิดงอ จนไม่ได้ฉากครับ
4. เลยตัดใจซื้อไม้วงกบ และประตูสำเร็จมาแทน พอติดตั้งวงกบเสร็จ ก็ค่อยติดฝา และขึ้นโครงหลังคา สีที่เลือกมา ตอนเลือก ตัดกันมาก แต่พอทาจริงๆ กลายเป็นไม่ค่อยตัดกันเท่าไร แต่ไม่เป็นไร ไว้ทาใหม่ได้
5. อันนี้คือ ภาพปัจจุบัน หลังคาขึ้นเรียบร้อย ตีขอบเรียบร้อย ยังไม่ได้ทาสีและยิงอุดรั่ว
ใช้ประโยชน์เต็มที่แม้มีพื้นที่จำกัด ข้อแนะจากชาว Pantip ก่อนต่อเติมหน้าบ้านทาวเฮาส์ [ปี2022]
ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ทำเองในราคาไม่เกิน 35,000 บาท
1. ผมเทพื้นปูของศาลาทิ้งไว้ หลังจากรอปูแข็งตัว
2. สั่งแต่ไม้โครงหลังคา มาทำงานก่อน ระหว่างที่ทำ ปรากฎภาพนี้ตอนทาสีไม้ นำไม้ไปตากให้แห้ง เลยถึงกับต้องเปลี่ยนใจ ว่าต้องลงทุนพื้นไม้จริงเท่านั้น
แต่ขอปรับนิดหน่อยคือ ใช้ไม้เต็งทั้งหมด เพื่อ
1. สีไม้จะได้เหมือนกันหมด ไม่โดด (ไม้แดง ทาสีย้อมไม้เบอร์เดียวกัน กับไม้เต็ง ผลของสีออกมาต่างกันมาก)
2. ราคาจะถูกลง เพราะไม้เต็ง ลบ.ฟุต ละ 1000-1100 (ไสแล้ว อบแล้ว) ส่วนไม้แดง ลบ.ฟุตละ 1500-1600 บาท ถูกลง 30% ก็ประมาณ 5 พันบาทได้ ไม้เต็งที่สั่งมารอบแรก 8,400 บาท เป็นเต็งลาว
ความรู้ที่ได้จากงานไม้ครั้งนี้ คือ
1. ขนาดไม้ 1 นิ้ว เท่ากับ 2 ซ.ม. ส่วน 6 นิ้ว เท่ากับ 5 นิ้วกับ 6/8 นิ้ว ไม่เท่ากับนิ้วเมตรจริงๆ น่าจะเพราะเป็นไสไม้ด้วย อันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่มันหายไปนิด – ทำให้ผมต้องคำนวณอะไรหลายๆ อย่างใหม่ เพราะขนาดที่หายไป เมื่อรวมๆ กันหลายๆ แผ่น ก็หายเป็นนิ้วได้เหมือนกัน
2. ไม้เต็ง แข็งตามชนิด ทำให้งานเลื่อย เป็นไปด้วยความเหนื่อยยากมาก และผมไม่ลงทุนอุปกรณ์เลื่อยไม้ตัวใหญ่ พวกเลื่อยวงเดือน แต่ใช้เลื่อยตัวเล็ก อย่างเลื่อยจิกซอ แทน จึงทำให้ การไสไม้หนาๆ 1.5 นิ้ว เป็นไปอย่างช้ามาก คำนวณจากงานจริง 3 ชั่วโมง เลื่อยได้ประมาณ 100 นิ้วเอง (ระยะทางโดยรวม และรวมพักเครื่อง พักคน)
ถ้ารักจะทำงานไม้จริงๆ จังๆ หาโต๊ะเลื่อยดีๆ เลยดีกว่า
3. ผมก็เริ่มทาสีก่อน เหตุที่ทาก่อน เพราะช่วงนี้ฝนตก จึงต้องการให้ไม้มี cover ป้องกันไว้ก่อน และอีกอย่างคือ ผมยังคิดไม่ตกเรื่องแบบ
4. เมื่อทาเสร็จ พอสีแห้งดี ก็มาเซาะร่อง หัวเสาด้านล่างเพื่อตั้งเสา กับมาร์คจุดเพื่อล็อกด้วยน็อตหัวเสา
5. ที่หัวเสาด้านบน ก็บากเข้าไป 2 ซม. เพื่อใช้วางคานไม้ ที่เข้าไปแค่ 2 ซม. เพื่อความสวยงาม และ ไม่ให้ไม้เสาเหลือพื้นที่น้อยเกินไป
6. จากนั้นก็พิธีตั้งเสาเอก ก็แค่เอา ไม้วัดระดับมาทาบ ไม่ได้ใช้ลูกดิ่ง เพราะ เสาไม้ ได้ฉากดีแล้ว
สรุป เสาสี่ต้น เอียงเล็กๆ ไป 1 ต้น อันเนื่องจาก เจาะรูน็อตเอียง ไม่อยากเจาะใหม่ เพราะจะหลวม ทำให้เสาไม่แน่น
7. จากนั้น ก็ลองขึ้นตามแบบ เป็นเสาโทริ ของญี่ปุ่นเลย จากนั้น ก็ถอดออก มาบากร่อง เพื่อรองรับคานที่จะใช้เป็นคานหลังคา
8. วิธีการก็เอาไม้ 4 แผ่น มาวางให้เท่ากัน แล้วก็ ขีดเส้นเพื่อบากเป็นแนวเดียวกันทั้งหมดเมื่อบากเรียบร้อย ก็ยกขึ้นติดตั้ง ล็อกด้วยน็อต 3 หุน ขนาด 3 นิ้ว ด้านละ 4 ตัว
9. จากนั้นก็เอาคานไม้ 4 เมตร มาวาง แล้วขีดเส้น เพื่อตัดเข้าร่อง ค่อยๆ ทำทีละแผ่น โดยความลึกในการบาก จะลดระดับกันไป ใช้เวลาไป 1 เดือนเต็มๆ หมดเงินไปแล้วประมาณ 13,000 บาท
10. ยังเหลือไม้หน้า 6 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ยาว 3 เมตร อีก 6 แผ่น (เกิดจากผมเปลี่ยนแบบ แต่เอาไม้มาทำไม้พื้นต่อได้)
11. และไม้ระแนง 1*1 นิ้ว ยาว 4 เมตร อีก 16 เส้น (ตั้งแต่ว่าจะทำเป็นระแนง ไม่ใส่หลังคา เพราะจะทำพื้นเป็นทรายล้างกับกระเบื้อง)
12. เมื่อโป้วแล้ว รอให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ขัดออกด้วยกระดาษทรายได้ แต่เมื่อวาน ฝนลงเสียก่อน เลยยังไม่ได้ทำ นอกจากนี้ 1 เดือนที่ผ่านมา ผมยังซื้ออิฐมอญโบราณมาเพิ่ม เพื่อปูให้ชนกับพื้นปูนที่เทไว้ (แต่ยังไม่ได้ตัดเพื่อวางให้เข้าร่อง)
13. และซื้อ ต้นไทรเกาหลี มาลงเพิ่มตามแนวรั่วครับ
14. แล้วก็มีการเดินไฟ ไว้สำหรับติดตั้งโคมไฟในสวน กับไฟที่เดินไปห้องเก็บของ (Shed) ในอนาคต) รวมถึงทาสีกำแพงจากรอยน้ำท่วมให้หมดไปด้วย ลงต้นไทรเกาหลี ต้นละ 120 บาท ไม่ได้วิ่งไปซื้อถึง คลอง 15 แต่ซื้อแถวบ้าน ราคาแพงกว่า แต่คุ้มค่าน้ำมัน ส่วนตู้ไฟ ไว้ใส่เบรกเกอร์ ตัวตั้งเวลาเปิดปิดไฟในสวน
15. ส่วนงานที่เหลือคือ ลงพื้นไม้ ซึ่งจะวาง ตง ขนาด 3 นิ้ว หนา 1.5 ล็อกกับพื้นปูนด้วยตะปู หลักการเดียวกับปูพื้นบ้านทั่วไป แล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติกกันชื้น อีกทีหนึ่ง เพื่อกันไอชื้นจากปูน ส่วนเสาปูน ที่ทำแบบนี้ เพราะกันชื้น แล้วเสาเน่า (เหมือนศาลาเก่า) ดังนั้นจึงต้องปิดเสาปูนด้วย ไม้อีกชั้นหนึ่งครับ ก็จะสวยงาม
16. ส่วนหลังคา จะปูด้วย กระเบื้องลอนเล็ก อาจสวยน้อยลง แต่ได้ประโยชน์มากกว่าคือ ป้องกันฝน และให้ร่มเงาได้ดี
ชาว Pantip แนะนำแบบศาลาริมน้ำ ทำเองสรุปค่าใช้จ่าย
ไม้รอบแรก
1. ไม้เต็งลาว หน้า 6 หนา 1 นิ้ว ยาว 3 เมตร รวม 6 แผ่น
2. ไม้เต็งลาว หน้า 6 หนา 1.5 นิ้ว ยาว 3 เมตร รวม 4 แผ่น
4. ไม้เต็งลาว หน้า 6 หนา 1 นิ้ว ยาว 4 เมตร รวม 2 แผ่น
5. ไม้เต็งลาว หน้า 1 หนา 1 นิ้ว ยาว 4 เมตร รวม 16 เส้น
รวมค่าขนส่ง 8,400 บาท
ไม้รอบสอง
1. ไม้เต็งลาว หน้า 4 หนา 4 นิ้ว ยาว 2 เมตร รวม 4 ต้น
2. ไม้เต็งลาว หน้า 6 หนา 1.5 นิ้ว ยาว 4 เมตร รวม 2 แผ่น
รวม 5,100 บาท (ไปรับเอง)
ค่าสี TOA ย้อมไม้ สีมะฮอกานี 1/4 แกลลอน 1 ถึง และ 1 แกลลอน 1 ถัง ประมาณ 1,500 บาท
ค่า Wood Filler สำหรับโป้วไม้ 380 บาท (ประมาณ)
ค่าน็อตหัวเสา 5 นิ้ว อันละ 9 บาท
ค่าน็อต 3 นิ้ว พร้อมแหวน และตัวเมีย ชุดละ 10-12 บาท ซื้อทั้งหมด 16 ชุด
ค่ากระดาษทราย หมดไปแล้ว 2 แผ่น แผ่นละ 7 บาท
ค่าทินเนอร์ เบอร์ 21 จำราคาไม่ได้
ค่าทินเนอร์ ทั่วไป (ไว้ล้างแปรง) มีของเก่าเก็บอยู่
เหลือต้องสั่งไม้อีกประมาณ 15,000 บาท เพื่อนำมาทำพื้น
ส่วนขั้นตอนการทาสี
ผมไม่ได้ใช้สีรอง เพราะต้องการทาสีทั้งหมด 3 รอบ ความจริง สีรองพื้นสำหรับย้อมไม้ ก็คือ สีเดียวกับที่มีเนื้อสี แต่เป็นสีไส การทาสีไม้ให้ทน ควรทา 3 รอบขึ้นไป และผมก็ต้องการย้อมสีเกิน 3 รอบ จึงซื้อขนาดแกลลอนใหญ่ 1 แกลลอน์ไปเลย ตอนแรกซื้อแกลลอนเล็กก่อน เพื่อลองสีครับ ว่าชอบไหม ถ้าไม่ชอบ ก็เปลี่ยน ก็เปลืองไม่กี่ร้อย พอเอามาลองทาแล้วชอบ ก็เลยจัดแกลลอนใหญ่
1 แกลลอน์มี 4 กระป๋องเล็ก
1 กระป๋องเล็กทาได้ประมาณ 12 ตารางเมตร
จากงานทั้งหมดที่เห็น ผมใช้ไปแล้ว 1.7 กระป๋องเล็กครับ ยังเหลือทาทับอีก 1 รอบ น่าจะใช้เกือบกระป๋องเล็ก และงานพื้นไม้ทั้งหมดอีก คาดว่า สีหมดพอดีกับงานที่ต้องการ
เยี่ยมมากครับ ขนาดศาลา เท่าทื่ดู ผมกะว่าน่าจะ แสนอัพ (ถ้าจ้างช่างมาทำ) ทำได้เอง ขนาดนี้ มืออาชีพ ครับ ยิ่งเจอผู้รับเหมาที่ใช้แรงงานอินเตอร์
ติดบ้านเรา นี้ยิ่งไปกันใหญ่ ยังปวดหัวไม่หาย
จ้างช่างมาทำโดยเฉพาะราคามันสูงอยู่แล้วครับ
ถ้าอยากถูกและทำเองไม่ได้ ไปซื้อแบบสำเร็จรูปมาเลย ถ้าขนาดนี้ราคาน่าจะ 5-6 หมื่น แต่อาจไม่ได้อย่างที่ชอบทั้งหมด
ชาว Pantip ขอสรุป แบบศาลาริมน้ำ สวยและแข็งแรงต้องคิดถึงอะไรบ้าง?
ไม่ว่าจะเป็นการจ้างช่างมาทำหรือทำเอง จะทำให้มีศาลาที่สวยงาม นั่งชิวๆข้างริมน้ำแล้ว ทำกิจกรรมกับครอบครัวหรือพักผ่อนก็ได้ แต่เคยรู้ไหมว่า ก่อนที่จะทำการปลูกสร้างศาลาต้องคิดถึงเรื่องอะไรบ้าง ชาว Pantip บอกไว้เป็นข้อข้อดังนี้
1. โครงสร้างของตัวศาลามีความคงทนแข็งแรง เนื่องจากริมน้ำมีลมพัด แรงอยู่เหมือนกัน
2. ฐานรากของศาลาก็ต้องแข็งแรงด้วย ริมน้ำ มีน้ำเยอะ ส่งผลให้สิ่งปลูกสร้างทรุดตัวลงง่าย
3. การตกแต่งและการเคลือบ วัสดุที่เป็นไม้ เนื่องจากอยู่ใกล้ริมน้ำเป็นไปได้ที่จะถูกนำจนเป็นเชื้อราและผุพัง
4. ถ้าวัสดุเป็นเหล็กจะมีความคงทนแข็งแรงมากกว่าไม้ แต่ถ้าให้เลือกไม้มีสีที่สวยกว่า
5. การสร้างศาลาริมน้ำในเขตพื้นที่ ต้องขออนุญาตจาก อบต.ก่อน เผื่อจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
[คนรักบ้านปี 2022 ต้องรู้!] รั้วเหล็กกล่อง…รั้วบ้านเทรนด์ใหม่ที่ชาว Pantip ให้ความสนใจ!!
สรุปสุดท้าย : ชาว Pantip บอกว่าแบบศาลาริมน้ำปี 2022 สวยและแข็งแรง จะทำเองหรือจ้างช่างก็ได้
เป็นอย่างไรกันบ้างพอจะได้ไอเดียสำหรับการสร้างศาลาริมน้ำ ในเขตพื้นที่ส่วนตัวเองบ้างหรือยัง ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านของคุณจะไม่มีริมน้ำ ก็สามารถมีศาลาข้างบ้านได้ด้วย และเดี๋ยวนี้มีแบบ ให้เลือกซื้อสำเร็จรูปเพื่อมาติดตั้งที่บ้านได้สะดวกด้วย ตามแบบวิถีชาว Pantip ได้แนะนำมา ทั้งในแบบที่จ้างช่างหรือว่าทำเองที่บ้าน จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับการพักผ่อนที่อยู่ใกล้ธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แบบนี้ต้องจัดสักหลังแล้ว