ฉบับย่อ :
|
ก่อนทำการโอนมรดกที่ดินมีเรื่องอะไรที่ชาว Pantip อยากให้รู้กันบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
“ที่ดิน” ถือว่าเป็นหนึ่งในมรดกที่ต้องส่งมอบต่อให้จากบิดามารดาไปยังทายาทของตัวเอง แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนดังกล่าวก็ต้องผ่านการ “โอนมรดกที่ดิน” เสียก่อน ซึ่งก็เรียกได้ว่ามีขั้นตอนและเรื่องที่จำเป็นต้องรู้กันก่อนเช่นกัน
ถ้าหากใครกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับโอนมรดกที่ดินแล้วไม่อยากพลาดรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าสนใจ ลองมาฟังคำแนะนำจากประสบการณ์ตรงของชาว Pantip ผ่านบทความชิ้นนี้กันได้เลย รับรองว่าจะช่วยให้สามารถเข้าใจหลักการได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมกันอย่างแน่นอน
เทรนด์กำลังมา! [อยากต่อเติมห้องข้างบ้านในปี 2022 ] ต้องรู้อะไรบ้าง ชาว Pantip มีคำตอบ!
ก่อนทำการโอนมรดกที่ดินมีเรื่องอะไรที่ชาว Pantip อยากให้รู้กันบ้าง?
ข้อมูลเกี่ยวกับการโอนมรดกที่ดินที่ชาว Pantip แนะนำนั้นค่อนข้างที่จะมีความหลากหลาย ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้ทำการคัดข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน ดังต่อไปนี้
ถ้าราคาประเมินของที่ดินไม่เกิน 20 ล้าน ก็จะเท่ากันครับ
- ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนที่ดิน ตอนมีชีวิต พ่อแม่โอนให้ลูก ก็เสีย 0.5% หรือโอนตอนเป็นมรดก ก็เสีย 0.5%
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตอนมีชีวิต พ่อแม่โอนให้ลูกโดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ได้รับการยกเว้น หรือโอนตอนเป็นมรดก ก็ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นเดียวกัน
- ค่าอากรแสตมป์ ตอนมีชีวิต พ่อแม่โอนให้ลูก ก็เสีย 0.5% หรือโอนตอนเป็นมรดก ก็เสีย 0.5%
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตอนมีชีวิต พ่อแม่โอนให้ลูก ก็ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (เพราะมูลค่าที่ดินไม่ถึง 20 ล้าน) หรือโอนตอนเป็นมรดก ก็เสียได้รับยกเว้นภาษีมรดก เพราะมูลค่าที่ดินไม่ถึง 100 ล้าน
จะมีผู้จัดการมรดก หรือ ไม่มี ก็ตาม ต้องโอนมรดกให้ทายาทเท่านั้น
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกให้ผู้มีสิทธิ์เท่านั้น จะมาโอนตามใจชอบไม่ได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้มีสิทธิ์ก็คือลุงคนเดียวเพราะไม่มีลูก ฉะนั้นผู้จัดการมรดกต้องโอนให้ลุงก่อน แล้วให้ลุงโอนต่อตามที่ตกลงกันอีกทีครับ
ข้อ1จะเป็นวิธีขายที่ดินมรดกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยสุดครับ เพราะเปลี่ยนมือเพียงครั้งเดียว เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษี1ครั้ง ข้อ2+3 เป็นการโอนให้ทายาทก่อนแล้วให้ทายาทขายเอง คร่าวๆคือ โอนให้ทายาทเสียค่าธรรมเนียมการโอน0.5%ราคาประเมิน
ถ้าบางคนไม่ใช่ทายาทตามพินัยกรรมหรือโดยธรรมจะต้องเสีย2% และเมื่อทายาทเอาไปขายเองเสียค่าธรรมเนียม2% และภาษีเงินได้อีก สรุปว่าโดน2ครั้ง ยังไม่นับความยุ่งยากในการรังวัดแบ่งโฉนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก
ดังนั้น….โดยปกติแล้วการขายที่ดินมรดกจึงมักเก็บไว้ให้ผู้จัดการมรดกขายไปเลยทั้งแปลงทีเดียวแล้วเอาเงินมาแบ่งกัน ยกเว้นจะไม่อยากขายแต่อยากจะได้เป็นที่ดิน ก็ทำการแบ่งแยกโฉนดแบ่งให้ทายาทไป แต่วิธีที่1ต้องมีภาษีเงินได้จากการขาย ที่กองมรดกต้องชำระด้วย ซึ่งจะเสียค่อนข้างสูงเพราะฐานภาษีสูงตามราคาขายที่ดินทั้งแปลง ถ้าแบ่งก่อนแล้วให้ทายาทขายเอง ทายาทจะเป็นคนชำระภาษีเงินได้ ซึ่งอาจจะถูกลงเพราะราคาขายถูกลง แต่ถ้าฐานภาษีเงินได้ของทายาทสูงอยู่แล้ว ก็อาจจะเสียเพิ่มขึ้น ปล.ถ้าจขกท.จะเอาตัวเลขแบบเป๊ะๆ ต้องให้จนท.ที่ดินคำณวนให้ครับ เพราะรายละเอียดปลีกย่อยเยอะอยู่
1 คนขออนุญาตก่อสร้างบ้านถือเป้นเจ้าของบ้านครับ
2 ผจก มรดกจะเป็นใครก็ได้ครับ แต่ผู้ร้องขอต้องเป้นผู้มีส่วนได้เสียเช่นทายาทหรือเจ้าหนี้ครับ
3 ต้องให้มีการจัดการมรดกให้แล้วเสร็จก่อนครับ แล้วหากทายาทยินยอมมอบบ้านให้แม่คุณ ทายาทก็จะดำเนินการโอนให้คุณแม่คุณครับ
ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นใด เช่น บัญชีเงินฝาก รถ ปืน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ต้องเสียเงินจ้างทนาย เฉพาะการรับมรดกที่ดิน ทายาทไปติดต่อสำนักงานที่ดินได้เลย ไม่ยุ่งยาก ใครจะรับส่วนไหน ก็แบ่งกันไป ใครไม่รับก็ลงชื่อไม่รับ ยื่นคำขอแล้วประกาศ 1 เดือน มาโอนมรดกได้เลย เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 50 สตางค์ ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องตั้ง ผจก.มรดก ก็เสียค่าโอนมรดกร้อยละ 50 สตางค์เหมือนเดิม
ตาให้หลาน ค่าธรรมเนียม+ภาษี+อากร 0.5+2.5+0.5%
ตา-แม่ ธรรมเนียม+อากร 0.5+0.5%
แม่-ลูก ธรรมเนียม+อากร 0.5+0.5%
ถ้าผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายเป็น ค่าธรรมเนียม
-กรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกเก็บตามราคาประเมิน ร้อยละ 0.5
-กรณีอื่น ร้อยละ 2
แต่ถ้าตาโอนให้หลาน ถือเป็นการให้โดยเสน่หา จะมีค่าใช้จ่ายเป็น
ค่าจดทะเบียน การให้ในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานหรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมิน ร้อยละ 0.5 นอกจากนี้ ร้อยละ 2
ค่าภาษี มารดาให้บุตรหรือบิดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เสียภาษี กรณีอื่นเสียเหมือนกับการขาย
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ มารดาให้บุตรหรือบิดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์ที่ให้นั้นได้มาทางมรดก ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีอื่นเสียเหมือนกับการขาย
ค่าอากร เรียกตามราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า ร้อยละ 0.5
เท่าที่ทราบ ถ้าไม่ตั้งผู้จัดการมรดก ทายาททั้งหมดต้องไปแสดงตัวพร้อมกันที่ สนง. ที่ดิน
[10] ต้นไม้สุดเหมาะกับเป็นแนวรั้วบ้านที่ชาว Pantip อยากแนะนำให้รู้จัก!
มาสรุปข้อมูลกันดีกว่าว่าถ้าหากต้องการโอนมรดกที่ดินชาว Pantip อยากให้รู้เกี่ยวกับอะไรกันบ้าง?
สำหรับการโอนมรดกที่ดิน ชาว Pantip แนะนำว่าสิ่งที่ควรทราบกกันก่อนนั้น มีดังต่อไปนี้
- ผู้จัดการมรดกสามารถเป็นใครก็ได้ มีหน้าที่ในการจัดการมรดกให้กับผู้ที่มีสิทธิ์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่สามารถโอนที่ดินให้ใครตามใจชอบได้
- ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นใด เช่น บัญชีเงินฝาก รถ ปืน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
- การขายที่ดินและนำเงินที่ได้รับมาแบ่งกันในกลุ่มทายาทเป็นการขายมรดกที่ดินที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
- ถ้าไม่ตั้งผู้จัดการมรดกทายาททุกคนต้องไปแสดงตัวพร้อมกันที่สำนักงานที่ดิน พร้อมกับแจ้งว่าทายาทคนใดต้องการรับผิดชอบส่วนไหน และยื่นขอคำประกาศรอเป็นเวลา 30 วัน จึงทำการโอนมรดก (*เสียค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0.5)
- หากบุพการีโอนให้ลูกในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (*มูลค่าที่ดินไม่ถึง 20 ล้านบาท) และรับการยกเว้นภาษีมรดก (*มูลค่าที่ดินไม่ถึง 100 ล้านบาท)
- การโอนมรดที่ดินระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกเก็บตามราคาประเมิน ร้อยละ 0.5 (กรณีอื่นร้อยละ 2)
- การโอนมรดกที่ดินแบบมารดาให้บุตรหรือบิดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เสียภาษี
- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ มารดาให้บุตรหรือบิดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์ที่ให้นั้นได้มาทางมรดก ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีอื่นเสียเหมือนกับการขาย
- ค่าอากร เรียกตามราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า ร้อยละ 0.5
โอนมรดกที่ดินมีขั้นตอนที่ยุ่งยากหรือเปล่าคะ?
ถ้าหากไม่ได้มีบุตรสืบสันดานอย่างชอบธรรม หรือไม่มีพินัยกรรมเตรียมเอาไว้ก่อนการโอนมรดกที่ดินอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควรเลยทีเดียว แต่ถ้าหากทายาทพูดคุยกันเรื่องแบ่งที่ดินมรดกอย่างเหมาะสมได้ ก็จะสามารถช่วยลดขั้นตอนให้น้อยลงได้เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน
[5] ไอเดียแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ของน้อยชิ้น แต่อบอุ่นแบบสุด ๆ ออกแบบโดยชาว Pantip!
บทสรุปส่งท้าย : โอนมรดกที่ดินไม่ยาก ขอแค่ทำตามขั้นตอนของชาว Pantip!
จากคำแนะนำของชาว Pantip ในข้างต้นจะเห็นได้ว่าการโอนมรดกที่ดินอาจฟังดูเหมือนจะมีความยุ่งยากวุ่นวายพอสมควร แต่โดยรวมแล้วก็ยังอยู่ในขอบเขตที่สามารถทำได้ไม่ได้ยากนัก ขอเพียงแค่ค่อย ๆ ทำตามขั้นตอนทีละขั้นอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจัดการกับปัญหามรดกที่ดินที่แสนค้างคาใจได้อย่างแน่นอน…