ชาว Pantip อยากบอก วิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า เป็นอาการที่น่ารำคาญ
รองช้ำที่ส้นเท้า หรืออาการเจ็บฝ่าเท้า เป็นอัตราหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บฝ่าเท้ามากๆ เดินกระเผลก กว่าจะทำการรักษาแล้วให้เดินให้หายได้เป็นปกติก็ใช้เวลา แต่รู้ไหมว่าสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยที่ชาว Pantip ที่มีประสบการณ์และเป็น โรครองช้ำที่ส้นเท้ามาแล้วจะมาเล่าให้ฟัง และแชร์ประสบการณ์ของตัวเองถึงวิธีการดูแลตัวเอง ทั้งเป็นการป้องกันและรักษาโรคนี้ด้วย จะมีวิธีการทำอย่างไรบ้างตามมาอ่านกันเลย
[ความรู้ดีๆปี 2022] จากชาว Pantip เกี่ยวกับเล็บขบ เป็นแล้วควรทำยังไง?
ชาว Pantip บอกโรครองช้ำที่ส้นเท้า มีอาการอย่างไร?
1. ช่วงเป็นมากๆ จะเจ็บฝ่าเท้ามากๆ เดินกะเผลก ซึ่งตอนนี้รักษาตัวจนกลับมาหายเจ็บเท้าและเดินได้ปกติ จึงมาแบ่งปันการรักษาให้ผู้ที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่
2. เจ็บฝ่าเท้าโดยเฉพาะเวลาเดิน ถ้าเป็นมากๆ ตื่นตอนเช้าจะตึงๆ ฝ่าเท้าด้วย
3. ตกเย็นจะปวดเท้ามาก รู้สึกเท้าเต้นตุบๆ เมื้อยล้าขา
ทำกายภาพยังไงครับ พี่สาวเริ่มเป็น แต่ไม่ยอมไปหาหมอ แค่เอายาแก้ปวดเมื่อยทา แล้วก็แช่น้ำร้อนครับ
เราเคยเป็นตอนนี้หายแล้วเพราะเปลี่ยนจากวิ่งมาปั่นจักรยาน
แต่พอหายแล้วคิดว่าคงจะหายขาดแต่คิดผิดเพราะลองเอารองเท้าแตะมาใส่อาการกลับกำเริบอีก ต้องลาขาดรองเท้าแตะและการยืนนานๆแล้วล่ะค่ะ
ชาว Pantip บอกวิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า มีตัวเลือกอะไรบ้าง?
เริ่มแรก และส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคนี้ก้อไปหาหมอ และหมอจะให้ยาแก้ปวดมากิน นอกเหนือจากที่กินยาหมอ แล้วเรารักษาดังนี้
1. แช่น้ำอุ่น
การแช่น้ำอุ่นช่วยได้มาก ควรแช่ทุกวัน … ควรใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อน ที่เราใช้คือใส่น้ำเย็นก่อนลงกะละมังซักผ้า 4 ขัน กับ น้ำร้อน 1 กาต้มกาแฟ (ถ้ากะละมังเล็ก ก้อกะๆ เอานะ) แล้วเอาฝาเท้าแช่เหมือนเหยียบน้ำ ไม่ต้องจุ่มทั้งเท้า เพราะน้ำค่อนข้างร้อนต่อหลังเท้า .. พอจุ่มฝ่าเท้าได้ประมาณ 15 นาที ก้อจุ่มทั้งเท้าได้เพราะน้ำเริ่มเย็น และความร้อนด้านบนจะลงไปที่พื้นกะลังมัง
2. เหยียบลูกบอล
ถ้าเป็นมากๆ ตอนเช้าตื่นมาจะเจ็บตึงฝ่าเท้า … ตื่นปุ๊บอย่าเพิ่งเดินเยอะ ให้เหยียบลูกบอลเล็กๆกลิ่งไปมา (ลูกเล็กมีหนามเป็นตุ่มจะดีมาก ถ้าไม่มีก้อลูกเทนนิส) จะช่วยให้ลดอาการตึงเท้า
3. รองเท้า
ถ้าคนที่ไปซื้อรองเท้ามาใหม่แล้วเป็นรองช้ำ ก้อเป็นที่รองเท้า แค่เปลี่ยนร้องเท้าก้ออาจหายแล้ว สำหรับรองเท้าไม่ควรใส่รองเท้าพื้นแข็ง และพื้นรองเท้าด้านในเรียบยังกะพื้นเตารีด ควรเลือกรองเท้าที่พื้นไม่แข็ง และรองพื้นด้านในมีลักษณะโค้งนูนรับกับอุ้งเท้า จะช่วยกระจายแรงกดเท้าได้
4. การเดิน
ช่วงที่เจ็บเท้า/อักเสบ แนะนำให้เดินและเวลายืนด้วย โดยทิ้งน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้าด้านหน้าแทนส้นเท้า ไปพลางก่อน แต่ไม่แนะนำให้ทำตลอดไป หายแล้วค่อยลงน้ำหนักตามปกติ …. ซึ่งมันจะช่วยให้เราไม่เจ็บซ้ำซาก และอาการเจ็บแต่ละวันจะค่อยๆ ทุเลาลง
5. แผ่นรองพื้นรองเท้าด้านใน
ตัวนี้น่าจะเป็นตัวรักษาอาการในระยะยาว ซึ่งเราใช้แผ่นรองพื้นสำเร็จรูปของ Scholl ที่เป็นแผ่นยาวเต็มแผ่น ตรงอุ้งเท้ามันจะยกนูนขึ้น (ใช้ได้กับรองเท้าคัดชู) ราคา 1025 บาท ซึ่งใส่จะรู้สึกนูนๆ ตรงอุ้งเท้า แล้วมันจะแข็งๆฝ่าเท้านิดหน่อย เราเลยใช้ แผ่นรองส้นของ Scholl ที่เป็นเจลนิ่มๆ ( 750 บาท) รองอีกทีเพื่อให้เดินสบายขึ้น
6. ยาทา :
ยาทาสำหรับคนที่ปวดแล้ว มันลามเมื้อยล้ามาถึงขา น่อง ก้อใช้พวกยาหม่อง น้ำมันมวยทาก้อได้ ซึ่งเราแนะนำยาทา ชื่อรองกะนอย ชนิดเย็น (ราคาประมาณ 450 บาท) แพง แต่ดีกว่ายานวดอื่นทั่วไป มันจะร้อนซึมเข้าไปใต้ผิว ซึ่งยานวดทั่วไปมันจะร้อนแค่ผิวนอก แต่ตรงฝ่าเท้าไม่แนะนำให้ทานะ ยามันไม่ถึงให้แช่น้ำอุ่นจะดีกว่า
แผ่นรองส้นเท้าเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเจ็บส้นเท้า ฝ่าเท้า ภาษาแพทย์เรียกว่า”เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ” ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “รองช้ำ” คนทีเป็นโรครองช้ำไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรใช้รองเท้านุ่มๆ บางทีเขาเรียกว่ารองเท้าสุขภาพ รองเท้าพวกนี้มีราคาแพงมากราคาเป็นหลายพันบาท บางทีก็ต้องสั่งตัดพิเศษให้พื้นในรองเท้ารับกับอุ้งเท้าผู้ใส่
สรุปแผ่นรองส้นเท้าเหมาะสำหรับ
1. คนที่เป็นโรครองช้ำ ช่วยเวลาเดินแล้วไม่เจ็บ
2. นักกีฬา เพราะแผ่นรองส้นเท้าช่วยซับแรงกระแทกขณะเล่น ขณะวิ่ง ขณะกระโดด ช่วยป้องกันการบาดเจ็บของเท้า
3. บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะงานที่ใช้เท้ามากๆ คือเดินมากๆ ยืนมากๆ ยืนนานๆ
[ความรู้ดีๆปี 2022]จากชาว Pantip เกี่ยวกับ อาการปวดฝ่าเท้า หรือ รองซ้ำ
ชาว Pantip บอกวิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า สาเหตุอาการเจ็บ
โดยปกติแล้ว พังผืดที่อยู่ใต้ฝ่าเท้า จะทำหน้าที่คอยรองรับแรงกระแทกเวลาที่เราก้าวเดิน แต่บางครั้ง แรงกดดันที่มากเกินไป อาจทำให้มีการทาลาย หรือมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งร่างกายจะตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บนี้โดยการเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เรารู้สึกเจ็บและตึงที่ใต้ฝ่าเท้า และคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้ว่าต้นเหตุที่ทำให้มีอาการนั้นเกิดจากอะไร เมื่อเป็นเช่นนั้น หมอหมีก็จะขอไล่เลียงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ ว่ามีอะไรบ้าง
1. กล้ามเนื้อน่องที่มีอาการตึงเกินไป เนื่องจากขาดความยืดหยุ่นที่ดี
2. ความอ้วน
3. โค้งฝ่าเท้าที่ใหญ่ผิดปกติ
4. การเดินมากหรือวิ่งเกินไป
5. มีกิจกรรมประจำวันที่เพิ่มมากขึ้น หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน
ใช้ครีมทาเท้าที่เป็นครีมทาฝ่าเท้าโดยเฉพาะ สำหรับคนเป็นรองช้ำเลย มันมียาชาผสมด้วยคือแก้ปวดได้ดีเลย
ชาว Pantip ขอสรุปวิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า ต้องทำอย่างไรบ้าง?ไว้ว่า
เห็นไหมว่าวิธีการรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ทั้งเป็นการบรรเทาและช่วยให้เป็นการรักษาไปในตัวด้วย บางคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยากและทำได้ยากมากกว่าจะหายเป็นปกติ เพียงแค่มีความอดทนและทำตามก็จะกลับมาเดินได้เป็นปกติ โดยวิธีการก็มีดังต่อไปนี้
1. การแช่น้ำอุ่น เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดี จะได้เข้าไปรักษาในส่วนที่เป็นอยู่ให้หายดีขึ้น
2. หาเครื่องมือที่ช่วย ในการเป็นที่รองพื้นรองเท้า เดี๋ยวนี้มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ช่วย ใส่ในรองเท้าเป็นการรองพื้น จะเป็นการทำให้เดินได้และไม่เจ็บ
3. แนะนำเวลายืนให้ทิ้งน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วด้วยไม่ใช่แค่ส้นเท้าอย่างเดียว ก็จะเป็นการช่วยบรรเทาอาการเจ็บที่ส้นเท้าได้ด้วย
[เท้าบวมข้างเดียว] เป็นอะไร? ชาว Pantip พร้อมให้คำตอบ! ปี 2022
สรุปสุดท้าย : ชาว Pantip แนะนำ วิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า ทำได้เองที่บ้าน
สำหรับใครที่มีอาการ ของโรครองช้ำที่ส้นเท้า บอกได้เลยว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเดินการยืน เพราะเนื่องจากอาการของโรคนี้ จะส่งผลต่อส้นเท้าของคุณทำให้รู้สึกเจ็บ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค รองช้ำที่ส้นเท้าได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็สามารถทำตามวิธีชาว Pantip ได้แนะนำไปข้างต้น ไม่จำเป็นว่าต้องเข้ารับการรักษาหรือพบแพทย์ เป็นเพียงแค่ตัวเลือกเดียวได้เท่านั้น หวังว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้ คุณหายได้เร็วขึ้น