ฉบับย่อ :
ข้อดีของการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip!
ข้อเสียของการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip!
|
อยากบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ มีข้อดีและข้อเสียที่ควรทราบอะไรกันบ้าง? ลองมาฟังสารพัดเหตุผลที่ชาว Pantip อยากให้รู้กันบ้าง?
หลาย ๆ คนที่มองการณ์ไกลไปจนถึงหลังวันที่ตัวเองเสียชีวิต เชื่อว่าบางคนอาจอยากที่จะทำการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่างกายของมนุษย์ที่จะนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยต่อไปได้อย่างมประสิทธิภาพในอนาคต
อย่างไรก็ตาม มีหลายประเด็นเช่นกันที่ชาว Pantip อยากให้ทราบกันก่อนที่จะทำการตัดสินใจบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยเฉพาะข้อดีและข้อเสียที่ไม่ควรมองข้าม ส่วนจะมีเรื่องอะไรที่ควรค่ากับการนำมาประกอบการตัดสินใจกันบ้างนั้น มาติดตามอ่านไปพร้อมกันเลย
ไขปริศนาคาใจ คนสวย Vs คนน่ารัก แตกต่างกันอย่างไร? มาเจาะลึกความเห็นจากชาว Pantip กัน! [2023]
การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่มีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้างในความเห็นของชาว Pantip?
ในส่วนของข้อดีและข้อเสียของกการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ชาว Pantip อยากที่จะให้ทราบกันก่อนที่จะทำการตัดสินใจนั้น มีดังต่อไปนี้
ไม่รู้สึกว่ามีข้อเสียอะไรเลยครับ ผมคิดเสมอว่าเป็นการได้ทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายของชีวิต ผมมีบัตรบริจาคอวัยวะตั้งแต่อายุ 20 ถ้าตายไปแบบทั่วไป คือ คนที่ยังไม่ตายต้องมาเสียเงินจัดงานศพให้ผมอีก โดยได้มาแต่ความเศร้า(เศร้ารึป่าวหว่า ?) แต่ถ้าบริจาคร่างกาย บริจาคอวัยวะ ผมมั่นใจว่า จะต้องมีความสุขเกิดขึ้นจากทางฝั่งผู้รับแน่ๆครับ
ข้อเสีย ข้อเดียว ที่คิดออก คือ คงจะรู้สึกหน้าอายบ้าง ที่ต้องปล่อยให้คนอื่นเห็นร่างกายอันเปลือยเปล่าของเรา ถ้าเราไม่คิด ญาติเราก็อาจคิด เช่น ร่างกายเรามีตำหนิตรงไหน ไฟ ฝี ขี้แมลงวัน จุดด่าง จุดดำ บลาๆ หรือ ขนาดของเจ้าโลก (แต่มันเป็นแค่ความรู้สึกนั้นแหละ)
แต่ข้อดี มีมากมาย หาที่เปรียบไม่ได้ ไม่ว่าจะบริจาค เพื่อให้การศึกษา หรือว่า บริจาค เพื่อต่อลมหายใจคนอื่นก็ตาม
ในขั้นตอนการบริจาค ไม่ใช่เราไปเซ็นบริจาคแล้วจบเรื่องน่ะ พอเราตาย ก็จะมีเงื่อนไข พอสมควรอีก ที่จะไม่รับ เช่น
1.โรคติดต่อร้ายแรง อันนี้ไม่รับ
2.ชิ้นส่วนเสียหายหนัก อันนี้ไม่รับ
3.นำศพส่งช้า อันนี้ไม่รับ
4.ญาติไม่ยอม อันนี้ไม่รับ แล้วก็อะไรอีกเยอะเลย ผมจำไม่ค่อยได้
ในแง่ศาสนาพุทธนะครับ การบริจาคอวัยวะ ถือเป็นทาน ระดับพระโพธิสัตว์ครับพวกให้ ไต ให้ ตับให้ หัวใจ ให้ดวงตา ดีหมดไม่มีเสียครับ
ข้อดี ได้ให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ และไม่ต้องยุ่งยากกับการประกอบพิธีศพ ไม่เปลืองเงิน
การบริจาคร่างกาย คือการบริจาคให้กับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ทำการศึกษาร่างโดยร่างกายจะถูกนำไปแช่น้ำยาเพื่อดองเป็นระยะเวลาหนึ่งหลังจากนั้นจะถูกนำขึ้นมาให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาเรียนรู้ หลังจากนั้นคณะแพทยศาสตร์จะจัดพิธีฌาปนกิจให้โดยให้ญาติมาร่วมงานได้ซึ่งแบบที่ 2 นี้จะใช้เวลาหลักปีเลยนะคะเป็น 2 ปีเลย เพราะส่วนใหญ่การดองก็ใช้เวลาประมาณ 1 ปีแล้วและหลังจากดองเสร็จก็ให้นักศึกษาเรียนรู้อีกประมาณปีการศึกษานึงหรือภาคการศึกษานึง การบริจาคร่างกายอย่างที่ 2 นี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นมีนิสิตนักศึกษาแพทย์และคณะแพทย์จัดการศพเรามีพระราชทานเพลิงให้อย่างสมเกียรติด้วยค่ะ ไม่เป็นภาระใครๆอย่างที่กังวลแน่นอน
ถ้าบริจาคเป็นอาจารย์ใหญ่ หลังเสียชีวิตเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนแพทย์ที่บริจาคให้จะมารับไปเร็วที่สุด เพราะต้องฉีดฟอร์มาลีน ลงบ่อดอง ตอนจัดงานศพจะเป็นโรงเปล่าค่ะ หลังจากดอง 1 ปี เป็นอาจารย์ใหญ่อีกประมาณ 1 ปีจึงจะจัดพิธีฌาปณกิจหรืออื่น ๆ ตามความเชื่อทางศาสนา ถ้าเป็นพุทธก็จะมีพระราชทานเพลิงศพให้ ติดต่อวัดวันเผาจริงให้หมด แต่ถ้าญาติอยากจะรับไปทำพิธีเองต่างหากก็ได้ค่ะ
[11] เคล็ดลับหัวถึงหมอยปุ๊บ! หลับปั๊บ! ไม่ต้องง้อยานอนหลับ ฉบับชาว Pantip!
มาลองทำการสรุปข้อมูลที่น่าสนใจกันดีกว่าว่าการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip มีข้อดีและข้อเสียอะไรกันบ้าง
สำหรับข้อดีและข้อเสียของการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip มีดังต่อไปนี้
ข้อดีของการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip!
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ได้รับการพระราชทานเพลิงศพหลังจากทำการศึกษาเสร็จแล้ว
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ญาติ ๆ ไม่ต้องเสียค่างานศพและค่าพิธีฌาปนกิจ
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักศึกษาแพทย์ เพื่อนำมาช่วยคนอื่นต่อไป
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ถือว่าเป็นทานในทางพุทธศาสนา
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ มีความสุขเกิดขึ้นในฝั่งของผู้รับ
ข้อเสียของการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ในความเห็นของชาว Pantip!
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ เจ้าหน้าที่จะมารับศพอย่างรวดเร็วที่สุด ส่วนใหญ่จะหลังจากศพถูกตั้งสวดอภิธรรมสามวัน หรือจัดพิธีสวดโดยเป็นโลงเปล่า
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ หากไม่ตรงตามเงื่อนไข เช่น โรคต่อร้ายแรง ชิ้นส่วนอวัยวะเสียหายหนัก นำศพส่งช้า ญาติไม่ยอมและฆ่าตัวตาย เป็นต้น ไม่สามารถบริจาคได้
- การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ญาติอาจรู้สึกอับอายที่ให้คนอื่นเห็นร่างกายที่เปลือยเปล่าของศพ
การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่สามารถทำได้ที่ไหนกันบ้างคะ?
โดยทั่วไปแล้วการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่สามารถที่จะทำได้กับทางมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทยศาสตร์ หรือโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีการเรียนการสอนทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลจุฬา โรงพยาลบาลศิริราช เป็นต้น ถึงแม้ว่าการขอบริจาคร่างกายของตัวเองจะตค่อนข้างง่าย แต่ก็มีข้อกำหนดหลายประการที่ควรศึกษาดีเช่นกัน
[11] สัญญาณเตือนมะเร็งตับระยะเริ่มต้นที่ชาว Pantip แนะนำรู้ทัน หายได้!
บทสรุปส่งท้าย : การบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ มีข้อดีและข้อเสียอะไรกันบ้าง? หวังว่าข้อมูลจากชาว Pantip จะช่วยให้ได้รับคำตอบ!
เมื่อทราบข้อมูลที่น่าสนใจต่าง ๆ กันไปแล้วจากชาว Pantip ในข้างต้น เชื่อว่า ณ ตอนนี้หลาย ๆ คนก็คงจะสามารถมองเห็นภาพรวมกันแล้วว่าที่จริงแล้วการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ถ้าหากทราบกันแล้ว ก็ลองชั่งใจให้ดีอีกครั้งว่าอยากที่จะทำการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่จริง ๆ หรือเปล่า?