ฉบับย่อ :
|
อยากประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี มีเรื่องอะไรที่ควรทำการบ้านก่อนลงสนามบ้าง ชาว Pantip!
การได้บ้านในฝันมาในราคาถูก เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนคงจะให้ความสนใจเป็นอย่างมากกันเลยทีเดียว เพราะขึ้นชื่อว่าได้ของดีในราคาประหยัดใครล่ะจะไม่อยากได้?
หนึ่งในหนทางที่จะได้บ้านในราคาประหยัดที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมกันมากที่สุดก็คือ “ประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี” นั่นเอง แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมการประมูลดังกล่าว ชาว Pantip มีสิ่งที่อยากให้รู้หลายประการเช่นกัน ที่เชื่อว่าจะช่วยให้พร้อมสำหรับการลงสนามได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วนจะมีประเด็นอะไรกันบ้างนั้น ลองมาติดตามอ่านข้อมูลกันได้เลย
[5] ไอเดียรีโนเวทปรับโฉมห้องนอนเล็ก ๆ ให้สวยงามน่านอน ในสไตล์ของชาว Pantip!
สิ่งที่ชาว Pantip อยากให้รู้ก่อนไปประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีมีอะไรกันบ้าง?
มีเรื่องสำคัญหลายประการที่ชาว Pantip อยากให้รู้จักเกี่ยวกับประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี โดยหลัก ๆ แล้วมีเรื่องที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้
การประมูลจากกรมบังคับคดี ได้ราคาถูกจริงครับ แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดๆกัน ฝากข้อควรระวังไว้อีกครั้งครับ ไม่อยากให้เสียค่าวางมัดจำ 5 % ฟรีๆ ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี มีข้อควรระวังและสำคัญหลายข้อนะครับ เช่น
- หากมีผู้ที่อยู่อาศัย หากเขาไม่ยินยอมให้เข้าไปดูภายในบ้าน คุณไม่สามรถเข้าไปดูได้ โดนบุกรุก
- หากคุณประมูลได้ คุณกู้แบงค์ ซึ่งต้องเข้าไปตรวจวัดภายในบ้าน เพื่อประกอบการประเมินอนุมัติสินเชื่อ หากเขาไม่ยินยอมให้เข้าไปภายในบ้าน คุณก็ไม่สามรถเข้าไปได้อีกเช่นกัน(โดนบุกรุก) ธนาคารจะไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ ควรคุยกะธนาคารให้ดี
- ดูรายละเอียดจากประกาศของกรมบังคับคดีให้ละเอียดว่า ขายโดยปลอดการจำนอง หรือการจำนองติดไปด้วย หมายถึงว่า ขายโดยปลอดการจำนองคือ ราคาที่ขายโดยประมูลอย่างเดียว แต่หากเป็นราคาที่ขายโดยมีการจำนองติดไปจะต้องบวกส่วนนี้เพื่มเข้าไปด้วยกับราคาประมูล
4.ควรธนาคารทำ Pre-approve และเช็คเครดิตบูโรของเราก่อน เพื่อที่จะทราบว่าเราสามารถกู้แบงค์ได้เท่าไร
อีกอย่างหนึ่ง หากเราประมูลได้แต่ไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือให้กับกรมบังคับคดีได้ภายในกำหนด(90 วัน) ค่าวางมัดจำ 5 % จะโดนยึด และจะต้องจ่ายค่าส่วนต่างของบ้านด้วยนะครับเช่น
– เราจะเข้าประมูลบ้านที่ราคา 2,000,000 บ. ต้องวางมัดจำ 100,000 บ. ให้กับกรมบังคับคดี
– หากเราประมูลได้ เราต้องหาเงินมาเพื่มให้กรมบังคับคดีอีก 1,900,000 บ.
– แต่เราหาเงินไม่ได้ หรือไม่ทัน เงินมัดจำ 100,000 บ. กรมบังคับคดีจะยึดไป
– และการประมูลครั้งต่อไป ราคาทรัพย์นี้จะเหลือ 1,800,000 บ. หากมีผู้ที่ประมูลได้ ก็จะได้ไปที่ 1,800,000 บ. ราคาแตกต่างจากที่เราประมูล 200,000 บ. เงิน 2 แสนบาทนี้ เราต้องจ่ายให้กับกรมบังคับคดีเพื่มอีกด้วยครับ
ส่วนในกรณีนี้นะครับ จากการที่ผมทำงานด้านกฏหมาย และมีรุ่นพี่รุ่นน้องอยู่ในบังคับคดีเต็มไปหมด แนะนำว่า
1 หาข้อมูลดีๆครับ ทำการบ้านเยอะๆ ดูด้วยว่าเจ้าของเค้ายอมออกโดยดีด้วยรึเปล่า ถ้าต้องมาฟ้องขับไล่อีกก็เหนื่อยครับ
2 พอถึงวันประมูล ให้ไปตั้งแต่ครั้งแรกๆ ดูว่าธนาคารส่งใครมา ดูว่าเจ้าของบ้านมาเพื่อที่จะขอสงวนสิทธิ์รึปล่าว (เจ้าของสงวนสิทธิ์ได้ครั้งนึงครับ) หรือดูว่ามีคนประมูลรึเปล่า บางทีเป็นพวกพ่อค้าน่ะครับ ถ้ามีหรือรู้ว่าใครเป็นใคร แนะนำไปคุยเลยครับ ว่าผมอยากได้ ขอไม่สู้ได้รึเปล่า หรือมีค่าเสียเวลาเท่าไหร่ก็ว่ากันไป เพราะเห็นหลายทีล่ะว่าออกมาขอโทษขอโพยกันทีหลังว่า พี่ไม่รู้จริงๆ ทำไมไม่คุยกันก่อน (เพราะพ่อค้าบางคนเค้าเล็งหลายๆที่เลยน่ะครับ พวกนี้คุยง่าย มีค่าขนมก็ปล่อยล่ะ ^^)
3 ถ้าเป็นธนาคาร คุยกะธนาคารเลยครับ ว่ายอมที่เท่าไหร่ ต่อรองได้ต่อไปเลย เค้าเองก็อยากขายแหละ อยากน้อยก็รู้ราคาเป๊ะๆ สบายใจทั้งสองฝ่าย ตอนประมูลจะได้ไม่กดดันครับ
4 กรณีเจ้าของบ้าน ไม่ต้องคุยก็ได้ครับ ปัญหาตามมาเยอะ แต่ไปดูให้รู้ว่าไม่มีคนอยู่ ไม่ต้องฟ้องขับไล่ก็พอ
ที่จะให้คุยกะธนาคาร มันไม่ง่ายอย่างที่บอกๆกันนะครับ ยิ่งเป็นมือใหม่ด้วยแทบจะหมดสิทธ์เพราะว่า
- แน่นอนคุณรู้ว่าโจทย์เป็นธนาคารอะไร แต่คนไหนหล่ะที่เป็นตัวแทนธนาคารที่คุณจะเข้าไปคุยด้วย ?? (ส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ชุดฟอร์ม)
- คุณต้องรู้ว่าทรัพย์ที่คุณจะประมูล มีคนที่จะเข้าประมูลกี่คน คุณอาจทราบว่ากี่คน แต่คนไหนบ้างหล่ะ จะเดินขอดูป้ายแต่ละคนหรือ แม้แต่มืออาชีพก็เป็นไปไม่ได้ครับ ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี มีข้อควรระวังและสำคัญหลายข้อนะครับ เช่น
- หากมีผู้ที่อยู่อาศัย หากเขาไม่ยินยอมให้เข้าไปดูภายในบ้าน คุณไม่สามรถเข้าไปดูได้ โดนบุกรุก
- หากคุณประมูลได้ คุณกู้แบงค์ ซึ่งต้องเข้าไปตรวจวัดภายในบ้าน เพื่อประกอบการประเมินอนุมัติสินเชื่อ หากเขาไม่ยินยอมให้เข้าไปภายในบ้าน คุณก็ไม่สามรถเข้าไปได้อีกเช่นกัน(โดนบุกรุก) ธนาคารจะไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ ควรคุยกะธนาคารให้ดี
- ดูรายละเอียดจากประกาศของกรมบังคับคดีให้ละเอียดว่า ขายโดยปลอดการจำนอง หรือการจำนองติดไปด้วย หมายถึงว่า ขายโดยปลอดการจำนองคือ ราคาที่ขายโดยประมูลอย่างเดียว แต่หากเป็นราคาที่ขายโดยมีการจำนองติดไปจะต้องบวกส่วนนี้เพื่มเข้าไปด้วยกับราคาประมูล
4.ควรธนาคารทำ Pre-approve และเช็คเครดิตบูโรของเราก่อน เพื่อที่จะทราบว่าเราสามารถกู้แบงค์ได้เท่าไร
ที่จริงมีเทคนิคนิดหน่อยครับ –
กรณีเป็นโจทก์ อยากได้ราคาที่ต้องการ ก็ไปนั่งเฉยๆครับ รอดูคนประมูลทรัพย์เรา รอจนได้ราคาสูงสุด เค้าจะถามว่าค้านไม๊ ก็ ค้านไปเลยครับ แล้วมาเจรจากับคนที่ให้ราคาสูงสุดทีหลัง –
กรณีเป็นคนอยากซื้อ ก็ดูครับ ใครเป็นเจ้าทรัำพย์ แบงค์หรือบุคคลธรรมดา ถ้าแบงค์มันจะง่ายครับ ถ้า ครั้ง 1 และ 2 ไม่ผ่าน ราคาจะดรอปลงมา 70% ของราคาประเมิณ (ตรงนี้ไม่ชัวร์นะครับ) เราก็พอรู่ละไม่ค่อยมีคนสนใจ เพราะถ้ามีคนสนใจ ไม่น่ารอดตั้งแต่ครั้งที่1แล้วละครับ แต่ถ้ามีคนค้านก็หลุดมาครั้งที่ 2 ได้ แต่เค้าจะให้ค้านได้ครั้งเดียว ซึ่งถ้ามีครั้งที่ 3 ก็สมมุติเลยว่า แทบไม่มีคนสนใจ เราก็มาเจรจากับแบงค์ก่อนเข้าประมูลครั้งหน่า
อยากต่อเติมห้องนอนข้างบ้าน[ต้องรู้อะไรบ้าง]ชาว Pantip มี 3 คำตอบ!
มาสรุปข้อมูลกันดีกว่าว่าประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี ที่ชาว Pantip เน้นย้ำมีอะไรกันบ้าง?
เพื่อให้การประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี เป็นไปได้อย่างราบรื่นและสามารถซื้อบ้านในราคาที่ถูก ชาว Pantip มีการแนะนำเทคนิคที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- การประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีหากประมูลได้ต้องวางมัดจำบ้านจำนวน 5% ของราคาประมูลได้ อีกทั้งต้องจ่ายส่วนที่เหลือภายใน 90 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกยึดเงินมัดจำ และจ่ายค่าส่วนต่างของบ้านเพื่อนำไปลดราคาของบ้านในการประมูลครั้งต่อไป
- ตรวจสอบว่ามีผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้นหรือเปล่า? ถ้าหากมีและไม่ยินยอมให้เข้าไปดูในบ้านจะถูกข้อหาบุกรุก และการประเมินอนุมัติเงินกู้จะจากธนาคารจะไม่สามารถทำได้
- หากบ้านยังมีผู้อาศัยอยู่ต้องตรวจสอบว่ายอมย้ายออกหรือไม่ จะได้ไม่ต้องมาฟ้องร้องเพื่อขับไล่กันอีกในภายหลัง
- ตรวจสอบว่าเป็นการขายแบบ “ปลอดการจำนอง” หรือ “จำนอง” หากจำนองอยู่ให้บวกราคาส่วนของการจำนองเข้าไปด้วยในการประมูล
- วันประมูลให้ตรวจสอบว่าธนาคารส่งใครมาร่วมประมูล หากเป็นเจ้าของบ้านจะมีสิทธิ์ในการขอสงวนสิทธิ์หนึ่งครั้ง หากไม่มีเจ้าของมาก็เป็นการบ่งบอกว่าบ้านไม่มีเจ้าของให้มีปัญหาทีหลัง
- วันประมูลให้ตรวจสอบว่ามีพ่อค้าที่มาเก็งกำไรซื้อบ้านหรือเปล่า ให้เสนอค่าเสียเวลาให้เพื่อแลกกับการไม่สู้ราคา ส่วนใหญ่พ่อค้าเหล่านี้มักเล็งบ้านหลายหลังถ้าหากมีค่าเสียเวลาให้มักจะยอมปล่อยหลังที่ต้องการ
- วันประมูลหากมีตัวแทนจากธนาคารให้ลองถามราคาที่เขาต้องการและต่อรองเพื่อให้ได้ราคาที่ Ok กับทั้งสองฝ่าย
- หากเป็นบ้านที่ผ่านการประมูลมาแล้ว 2-3 ครั้ง แต่ไม่มีคนสนใจ ให้คุยกับธนาคารโดยตรงก่อนเข้าประมูลครั้งหน้าจะช่วยให้ได้บ้านในราคาที่ถูกยิ่งขึ้น
ประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีดีไหมคะ?
หลายคนอาจคิดว่าการประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีจะช่วยทำให้ได้บ้านราคาถูก แต่ที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะอาจมีพ่อค้าที่เล็งเก็งกำไรจากการซื้อบ้านหลังเดียวกันที่ค่อนข้างมีทุนหนามาประมูลแข่งเช่นกัน ดังนั้น ควรมีราคาในใจ +10% ของราคาที่จ่ายไหว ถ้าหากราคาประมูลมากกว่านี้ควรปล่อยผ่านไป เพื่อไม่ให้ต้องเสียเงินจากการประมูลที่มาเกินความจำเป็นนั่นเอง
เทรนด์กำลังมา! [อยากต่อเติมห้องข้างบ้านในปี 2022 ] ต้องรู้อะไรบ้าง ชาว Pantip มีคำตอบ!
บทสรุปส่งท้าย : ประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีดีไหมในความเห็นของชาว Pantip!
ชาว Pantip หลาย ๆ คนก็สามารถที่จะชนะการประมูลบ้านกับกรมบังคับคดี แล้วได้บ้านในฝันราคาถูกมาครอบครองอย่างง่ายดายเช่นกัน แต่ก็ต้องเข้าใจว่าบ้านที่มีทำเลที่ดีและมีคุณสมบัติที่น่าสนใจนั้น ส่วนใหญ่ก็มักที่จะมีอัตราการแข่งขันที่ดุเดือดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้น ประมูลบ้านกับกรมบังคับคดีจึงไม่ใช่ทุกหลังที่สามารถได้มาในราคาถูกนั่นเอง…