ฉบับย่อ :
ทนายความ ทำหน้าที่ว่าความให้กับลูกความ (ลูกค้า) ในคดีของตัวเอง โดยทำการรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับคดี เพื่อช่วยในการแก้ต่างและช่วยเหลือลูกความของตัวเองให้ชนะคดีหรือลดโทษให้เบาลงที่สุด โดยอาชีพทนายแบ่งงอกได้เป็นสามประเภทคือ ทนายอิสระ ทนายสำนักงานกฎหมายและทนายอาสา (ทำคดีฟรี) ทนายความเมื่อสอบขอใบอนุญาตก็สามารถทำการว่าความได้
อัยการ ทำหน้าที่เป็น “ทนายของแผ่นดิน” ถือว่าเป็นข้าราชการ ว่าความในคดีอาญาหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นผู้ตั้งข้อหาเอาผิดผู้ต้องสงสัย และแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ถ้าหากความคิดมีมูลก็จะทำการสั่งฟ้อง เป็นอาชีพที่จำเป็นจะต้องสอบเข้ามีการแข่งขันที่สูง
ผู้พิพากษา ข้าราชการตุลาการที่ทำหน้าที่ตัดสินในชั้นศาล อ้างอิงจากพยานหลักฐานที่คู่ความในศาลนำมาใช้ต่อสู้กันผ่านการตีความทางกฎหมายว่าจะเห็นตามอัยการหรือยกฟ้อง ผู้พิพากษาสามารถตัดสินได้เท่าที่ฝ่ายโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษเท่านั้น ไม่สามารถนำหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำการลงโทษได้ |
อยากทำงานด้านกฎหมาย ผู้พิพากษา อัยการและทนาย แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรกันบ้าง? บทความนี้มีคำตอบจากชาว Pantip มาฝากกัน!
สำหรับคนที่มีความใฝ่ฝันอยากที่จะทำงานทางด้านกฎหมายหลายคนอาจจะมีคำถามขึ้นมาในใจว่าผู้พิพากษา อัยการและทนาย ทั้งสามอาชีพนี้มีบทบาทหน้าที่ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกันบ้าง?
เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจว่าระหว่างผู้พิพากษา อัยการและทนาย สายอาชีพไหนมีความน่าสนใจอย่างไรกันบ้าง? ลองมาฟังคำแนะนำจากชาว Pantip ถึงจุดเด่นและหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานเหล่านี้กันว่ามีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง?
ตอบทุกประเด็นชวนฉงนจากชาว Pantip [ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ] คืออะไร? #ข้อมูล 2022
มาฟังความเห็นของชาว Pantip กันว่าดีกว่าว่าผู้พิพากษา อัยการและทนาย มีความรับผิดชอบหน้าที่อะไรกันบ้าง?
มาลองฟังความเห็นของชาว Pantip กันดีกว่าระหว่างตำแหน่งงานผู้พิพากษา อัยการและทนาย มีอะไรที่น่าสนใจควรทราบกันบ้าง?
อัยการคือตั้งข้อหาเอาผิดผู้ต้องสงสัย แสดงหลักฐานเพื่อเอาผิดเข้าคุก ทนายความคือคนที่ช่วยผู้ต้องสงสัย อาจจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็แล้วแต่ต้องช่วยทั้งหมด เพื่อให้ลดโทษมากที่สุด ผู้พิพากษาเป็นคนตัดสินโทษว่าจะรอดหรือติดคุก
อัยการคือทนายของแผ่นดิน ใครทำผิดกฏหมายที่มีไว้ปกป้อง ประชาชนส่วนใหญ่ อัยการต้องแสดง ข้อเท็จจริงเพื่อเอาเขามาลงโทษ ทนายคือผู้แก้ต่างให้คนที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิด (ถ้าคดีแพ่งก็ทนายโจทก์สู้กับทนายจำเลย) ผู้พิพากษาคือคนที่ฟังการกล่าวหา และการแก้ต่าง แล้วหักกลบลบหนี้ตัดสินว่าฝ่ายไหนชนะ ผู้พิพากษาก็ออกหาข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุได้ เขาเรียกเดินเผชิญสืบ
อัยการเป็นข้าราชการค่ะ ต้องสอบเข้า แน่นอนว่าแข็งขันสูงมากค่ะ ผู้พิพากษา เป็นข้าราชการ ต้องสอบแข็งขันเช่นกันค่ะ ทนายความ เรียน+สอบได้ใบอนุญาต ก็ว่าความได้ค่ะ ทั้ง 3 อาชีพต้องเรียนจบนิติศาสตร์ค่ะ รัฐศาสตร์ไม่ได้นะคะ
“ทนายความ” ทำหน้าที่ว่าความให้ลูกความ (ลูกค้าของตัวเอง) ในคดีของตัวเองค่ะ ซึ่งจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล+หลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวกับคดี เพื่อแก้ต่าง/ช่วยเหลือลูกความของตัวเองให้ชนะคดีให้ได้ ทนายความจะมีหลายที่มาเลยค่ะทั้งทนายอิสระ ทนายตามสำนักงานกฎหมาย ทนายอาสาที่รับคดีตามศาล (รับทำคดีให้ฟรี สำหรับคนที่ร้องขอให้ศาลจัดหาทนายให้ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่พร้อมทางการเงินในการจ้างทนายค่ะ)
“อัยการ” หน้าที่คล้ายทนายความค่ะ แต่จะเป็นในฐานะทนายแผ่นดินซึ่งถือเป็นข้าราชการ อัยการจะว่าความในคดีอาญา หรือคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ในคดีแพ่ง ทนาย vs ทนาย เท่านั้น อัยการจะไม่ทำคดีแพ่งค่ะ)
“ผู้พิพากษา” เป็นข้าราชการตุลาการ ทำหน้าที่ตัดสินคดีในศาล โดยจะตัดสินจากพยานหลักฐานที่คู่ความในศาลหยิบมาต่อสู้กัน โดยอาศัยกฎหมายตีความประกอบไปด้วย ซึ่งศาลจะตัดสินได้เท่าที่โจทก์ในคดีประสงค์ให้ลงโทษเท่านั้น จะหยิบข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวมาตัดสินลงโทษฝ่ายใดไม่ได้ค่ะ
ทั้ง 3 อาชีพต้องเรียนจบ ป.ตรี “นิติศาสตรบัณฑิต” เท่านั้น สาขาอื่นจะประกอบอาชีพไม่ได้ถ้าไม่มีวุฒินี้ ทนายความจะต้องมีการแยกไปสอบเพื่อเอาตั๋วทนายมาประกอบวิชาชีพ ไม่จำเป็นต้องเรียนต่อเนติบัณฑิตก็สามารถเป็นทนายได้ค่ะ แต่อัยการและผู้พิพากษา จะต้องเรียนจบเนติบัณฑิตเพิ่มอีกหลังจากเรียนจบ ป.ตรี และต้องทำงานเกี่ยวกับสายงานกฎหมายตามที่ระเบียบการสอบเข้ารับราชการกำหนด ไม่งั้นจะสอบเข้าไม่ได้ค่ะ
ถ้าอัยการไทย ตำรวจจะเป็นคนจับคนร้ายและทำการสืบสวนสอบสวนค่ะ แล้วนำตัวผู้ต้องหาพร้อมตั้งข้อหาว่าทำผิดข้อหาอะไรบ้าง+สำนวนการสอบสวนส่งให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องค่ะ ถ้าอัยการเห็นว่าผู้ต้องทำผิดจริงก็สั่งฟ้อง ถ้ามีเหตุสงสัย อาจจะสั่งให้พนักงานสอบสวน(ตำรวจ)สอบสวนเพิ่มเติมคามประเด็นที่อัยการตั้ง (แต่อัยการจะไม่มีหน้าที่ทำการสืบสวนสอบสวนค่ะ ยกเว้นในบางข้อหาตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้) หรือถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ผิดก็จะสั่งไม่ฟ้องค่ะ
ของไทย ตำรวจจะต้องแจ้งข้อหา+ทำสำนวนส่งมาที่อัยการก่อนค่ะ แล้วอัยการจึงจะพิจารณาว่าคดีมีพยานหลักฐานพอที่จะฟ้องหรือไม่
ทนาย มีผู้จ้างงานให้ว่าความให้ผู้จ้าง อัยการ เป็นทนายแผ่นดิน อัยการเป็นผู้สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ตามหลักฐานในสำนวนที่ตำรวจรวบรวมมาให้ ส่วนผู้พิพากษา เป็นผู้ตัดสินคดี ว่าจะเห็นตามอัยการที่ฟ้องมา หรือยกฟ้องค่ะ
[5] เหตุผลที่บัตรเฟิร์สช้อยส์จะช่วยปรับวงเงินให้โดยอัตโนมัติ ชาว Pantip ขอบอก!
มาลองสรุปความเห็นของชาว Pantip ที่มีต่อผู้พิพากษา อัยการและทนายกันดีกว่าว่ามีหน้าที่อะไรกันบ้าง?
หลังจากที่ได้รับฟังความเห็นของชาว Pantip ที่มีต่อผู้พิพากษา อัยการและทนายกันไปแล้ว คราวนี้มาสรุปข้อมูลที่น่าสนใจกันดีกว่าว่ามีประเด็นอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง?
ทนายความ
ทำหน้าที่ว่าความให้กับลูกความ (ลูกค้า) ในคดีของตัวเอง โดยทำการรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับคดี เพื่อช่วยในการแก้ต่างและช่วยเหลือลูกความของตัวเองให้ชนะคดีหรือลดโทษให้เบาลงที่สุด โดยอาชีพทนายแบ่งงอกได้เป็นสามประเภทคือ ทนายอิสระ ทนายสำนักงานกฎหมายและทนายอาสา (ทำคดีฟรี) ทนายความเมื่อสอบขอใบอนุญาตก็สามารถทำการว่าความได้
อัยการ
ทำหน้าที่เป็น “ทนายของแผ่นดิน” ถือว่าเป็นข้าราชการ ว่าความในคดีอาญาหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นผู้ตั้งข้อหาเอาผิดผู้ต้องสงสัย และแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ถ้าหากความคิดมีมูลก็จะทำการสั่งฟ้อง เป็นอาชีพที่จำเป็นจะต้องสอบเข้ามีการแข่งขันที่สูง
ผู้พิพากษา
ข้าราชการตุลาการที่ทำหน้าที่ตัดสินในชั้นศาล อ้างอิงจากพยานหลักฐานที่คู่ความในศาลนำมาใช้ต่อสู้กันผ่านการตีความทางกฎหมายว่าจะเห็นตามอัยการหรือยกฟ้อง ผู้พิพากษาสามารถตัดสินได้เท่าที่ฝ่ายโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษเท่านั้น ไม่สามารถนำหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำการลงโทษได้
[5] ประเด็นที่ชาว Pantip มักตั้งคำถามเกี่ยวกับบัตรกดเงินสดกสิกร พร้อมคำตอบจาก K888!
บทสรุปส่งท้าย : ผู้พิพากษา อัยการและทนาย อาชีพไหนที่โดนใจชาว Pantip มากที่สุด!
เส้นทางอาชีพทางด้านกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการและทนาย ล้วนแล้วแต่มีบทบาท หน้าที่ รวมไปถึงความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปพอสมควร ดังนั้น ถ้าหากใครกำลังสนใจอยากที่เดินบนเส้นทางนี้ก็หวังว่าข้อมูลจากชาว Pantip ที่นำเสนอไปแล้วในตอนต้นจะช่วยได้อย่างแน่นอน…