ถ้าบริษัทให้เลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2-15% ชาว Pantip จะเลือกกี่เปอร์เซ็น

ถ้าบริษัทให้เลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2-15% ชาว Pantip จะเลือกกี่เปอร์เซ็น

ชาว Pantip ชวนทำความรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ Pantip

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (เจ้าตัวนี้ไม่ใช่ประกันสังคมและ RMF นะ)เจ้ากองทุนเนี้ยจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจขององค์กรนั้นๆ ส่วนใหญ่องค์กรหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นที่รู้จักในระดับนึงก็จะมีเกือบทั้งหมด โดยนายจ้างก็จะหักจากค่าจ้างเราเนี่ยแหละ 2-15% ของค่าจ้างและสบทบไม่ต่ำกว่าเงินที่หักจากเรา ถ้าค่าใช้จ่ายของเรามีน้อยเราสามารถขอให้นายจ้างหัก 15% เลยก็ได้ ถ้าในองค์กรใหญ่ๆ เขาให้ได้สบายๆอยู่แล้ว แต่ถ้าขนาดกลางหรือเล็กลงมาหน่อยก็อาจจะให้ไม่ถึง 15% อันนี้ก็อยู่ที่การตลกลง

ชาว Pantip รวบรวม 4 ข้อคิดเพื่อหลุดพ้นจากมนุษย์เงินเดือน

การตัดสินใจของชาว Pantip เกี่ยวกับ เปอร์เซ็น การหักเงินค่าจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ Pantip

เป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนทันที 100% ต้องเต็ม max เท่านั้น

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

ถ้าออมได้เยอะ แล้วไม่เดือดร้อนก็เลือกเยอะๆไปเถอะครับ

แต่ดูเงื่อนไขของบริษัทด้วยว่า ส่วนของบริษัทที่สมทบให้เท่าไหร่
บางที่มีจำนวนปีทำงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็อาจจะทบไม่เท่ากับที่เราส่งครับ

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

ให้ลงสูงสุดเท่าที่บริษัทสมทบให้ ที่เหลือไปหาช่องทางลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนมากกว่ากองทุนที่บริษัทใช้บริการ ถ้าหาช่องทางลงทุนเองไม่ได้ก็ลง max ไปเลย ถือว่าเป็นการบังคับออม

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

ชาว Pantip สงสัยลาออกแล้วจะได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม?

กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ Pantip

หากคุณลาออก จะได้เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสะสม ซึ่งเป็นเงินหักทุกๆๆเดือน

เงินสมทบ คือเงินที่บ.หักให้คุณทุกเดือนจะต้องไปขอดูข้อบังคับของบ.นะค่ะ ต้องทำงานกี่ปี จะได้เงินกี่%ค่ะ

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

คิดว่าแล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละบริษัทนะคะ

ของบริษัทเราต้องทำงานครบ5ปีขึ้นไป  บริษัทจะสมทบเงินให้1เท่าของเงินที่เรามีอยู่

ไม่นับเป็นจำนวนปีอ่ะค่ะ  แต่เท่าที่ถามบริษัทอื่น  ก็แตกต่างกันไป

บางบริษัทก็แค่3ปี  อันนี้ต้องไปถามฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทคุณนะคะ

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

เข้าใจว่านโยบายแต่ละบริษัทน่าจะไม่เหมือนกัน
ในส่วนที่เคยได้ยินมา เราจะได้คืนเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสะสมของเรา+ผลตอบแทนที่เราได้รับจาการที่กองทุนเอาเงินของเราไปลงทุน

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

เหมือนความเห็นเพื่อนๆ สำหรับบริษัทฯที่ผมทำงานเป็น ดังนี้

พนักงานเลือกสมทบ 3-6%  บริษัทสมทบ 6 %
ครบ 3 ปี ได้สวนทีบริษัทสมทบ  50%
ครบ 4 ปี ได้สวนทีบริษัทสมทบ  75%
ครบ 5 ปี ได้สวนทีบริษัทสมทบ 100%
สำหรับส่วนของพน้กงาน จะได้คืนเต็ม 100% ทุกกรณี

คลิก ! อ่านกะทู้ต้นฉบับ

ชาว Pantip แนะนำ ขอคืนภาษี ความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้ ปี2022

สรุปประเด็นทุกอย่างที่ชาว Pantip พูดถึงเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ Pantip

  1. การหักค่าจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไรดี? อันนี้ก็อยู่ที่การตัดสินใจของแต่ละบุคคล คำแนะนำส่วนใหญ่เน้นไปว่าหักเต็มเลยคือ15%แต่มันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทด้วยว่าเต็มที่สามารถหักได้เท่าไรและบริษัทจะสบทบเท่าไร คำแนะนำคือเยอะเท่าที่จะเยอะได้ถือเป็นการออมเงิน
  2. ลาออกจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม? ต้องตอบว่าแล้วแต่ละบริษัทไม่เหมือนกันเงินในส่วนที่หักจากค่าจ้างเราได้อยู่แล้วทุกบริษัทเมื่อลาออกแต่เงินที่ทางบริษัทสมทบให้นั้นจะขึ้นอยู่กับปีที่ทำงานแต่ละบริษัทกำหนดเปอร์เซ็นการให้และปีที่ไม่เท่ากัน บางบริษัททำงานครบ 3 ปี ได้50% 5ปี ได้ 100% หรือบางบริษัทก็ต้องเริ่มตั้ง 5 ปี ขึ้ันไป อันนี้ต้องไปถามกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่เราทำงานอยู่

[10 ช่องทางหาเงินออนไลน์] แบบไม่ต้องขยับออกจากบ้าน สไตล์ชาว Pantip!

สรุปสุดท้าย:ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถหาได้จากชาว Pantip

กองทุน สํา รอง เลี้ยง ชีพ Pantip

บอกเลยว่าเรื่องความรู้ด้านต่างๆนั้นสามารถหาได้จากชาว Pantip จริงๆเพราะชาว Pantip ประกอบไปด้วยบุคคลที่มีมากมายหลากหลายอาชีพและได้เข้ามาแชร์ประสบการณ์ความรู้ที่ตนเองมีให้กับทุกๆคนในเรื่องต่างๆที่น่าสนใจ อย่างในบทความนี้ก็จะเป็นเรื่องของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร การเลือกเปอร์เซ็นการหักเงินเข้ากองทุนควรหักเท่าไร ลาออกแล้วจะได้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม ทุกเรื่องและทุกคำถามเหล่านี้ได้มีคำตอบแล้วจากบทความนี้ โดยได้รวบรวมความคิดเห็นที่คิดว่าคนที่สงสัยและอยากรู้เรื่องพวกนี้จะได้ประโยชน์มาจากชาว Pantip มาตอบให้แล้วหวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะ

งานคือเงิน-เงินคืองานLatest articles in the category