[5] เทคนิคกางฟลายชีทสไตล์ชาว Pantip ลมแรง ฝนตกนัก รับรองเอาอยู่!

[5] เทคนิคกางฟลายชีทสไตล์ชาว Pantip ลมแรง ฝนตกนัก รับรองเอาอยู่!
ฉบับย่อ :

  • ชาว Pantip แนะนำ ควรขึงกางฟลายชีทของเต็นท์ให้แน่นด้วยการปรับตึงด้วยสมอบก เพื่อป้องกันน้ำค้างกลั่นตัวหยด ฝนซึมและลมพัดผ่านมากจนเกินไป
  • ชาว Pantip แนะนำ ส่วนของมุ้งในเต็นท์จะต้องไม่ติดกับฟลายชีท
  • ชาว Pantip แนะนำ ให้กางเต็นท์ระหว่างต้นไม้สองต้น แล้วผูกเชือกระหว่างกลางเพื่อเป็นแกนของฟลายชีทแทนการพกเสาที่มีน้ำหนักสูง
  • ชาว Pantip แนะนำ ขณะกางฟลายชีทต้องให้รอยต่ออยู่ในแนวตั้ง เพราะหากเป็นแนวนอนจะทำให้น้ำฝนสะดุดรอยต่อแล้วหยดลงข้างล่างได้
  • ชาว Pantip แนะนำ การตอดสมอบกเพื่อให้ฟลายชีทตึง ควรตอกในบริเวณที่มีวัชพืชแล้วรอยเชือกรวบสมอบกเข้ากับวัชพืชเพื่อช่วยผ่อนภาระให้กับสมอบกเมื่อลมแรง หรือใช้ขวดน้ำลิตรใส่น้ำให้เต็มพันเชือกถ่วงเอาไว้ก่อนที่จะถึงสมอบก หากลมพัดแรงมากขวดน้ำจะช่วยลดภาระของสมอบกให้น้อยลง

กางฟลายชีทอย่างไรให้ใช้งานได้ดี ไร้ปัญหากวนใจไม่ว่าลมแรง ฝนตกหนัก มาฟังเทคนิคที่น่าสนใจจากชาว Pantip กัน!

ฟลายชีท pantip

“ฟลายชีท” เป็นกนึ่งในอุปกรณ์กันลม กันฝน ที่นักเดินป่าหรือตั้งแคมป์ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจฟลายชีทก็จะเป็นผู้ช่วยในการรับมือกับปัญหาส่วนใหญ่ไป ทำให้การนอนหลับพักผ่อนภายในเต็นท์กลายมาเป็นเรื่องที่ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สำหรับมือใหม่ที่อยู่ในระหว่างทำการศึกษาและมองหาวิธีการกางฟลายชีทเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น ลองมาฟังคำแนะนำจากชาว Pantip ในบทความชิ้นนี้กันก่อน รับรองว่าจะได้รับวิธีการกางฟลายชีทสุดแสนน่าสนใจที่ไม่ควรพลาดกันอย่างแน่นอน

มุ้งลวดนิรภัยดีไหม? มาฟังข้อดี Vs ข้อเสีย ที่ชาว Pantip อยากให้รู้จักกันติดตั้ง #ข้อมูล 2022

ชาว Pantip มีเคล็ดลับในการกางฟลายชีทที่น่าสนใจอย่างไรกันบ้าง?

ฟลายชีท pantip

ในส่วนของวิธีการฟลายชีทที่น่าสนใจนั้น ชาว Pantip ได้มีวิธีการที่น่าสนใจอยากแนะนำให้ลองไปทำตามดู ดังต่อไปนี้

 

สำหรับพี่มายจะกางแบบไหนก็ตามถ้ากรณีสถานที่นั้นลมแรงๆ นอกจากขึงเชือกผ่านเสาหลักหลังพาดผ้าฟรายชีทแบบเตี้ยๆ ตอกสมอบกทุกจุดแล้ว จะขึงเชือกพาดไขว้ใต้ฟรายชีทอีกที 2เส้น และพาดทับไข้วบนฟรายชีททับ 2เส้น กั้นลมตีฟรายชีทสะบัดขึ้นสะบัดลงได้ทุกทิศทาง… ดีนักแล..

คลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ

 

ส่วนปัญหาเรื่องสมอบก  ผมเพิ่งได้สมอบกตัวนี้มาจากLD ก็ถือว่าโอเค ตรงจุดที่ผมกาง มันจะมีวัชพืชเลื้อยคลุมคล้ายๆผักบุ้ง รากค่อนข้างแข็งแรง ผมก็ใช้วิธีปักสมอบกหลังวัชพืชพวกนี้ แล้วร้อยเชือกรัดเข้าด้วยกัน โดนลมแรงๆก็อยู่รอดปลอดภัยดีฮะ ดูจากภาพถ่ายเอาละกัน ลมแรงกระพือเป็นว่าวเลย แต่ฟลายชีทกับสมอบกอยู่รอดปลอดภัยดีฮะ แต่ถ้าไม่มีวัชพืชพวกนี้ช่วย ก็ให้เอาขวดน้ำดื่มขวดลิตรใส่น้ำให้เต็ม แล้วถ่วงไว้ก่อนเจอสมอบก แรงดึงของเชือกจะต้องยกขวดน้ำทั้งขวดก่อนที่จะถอนสมอบกให้ลอยจกพื้น วิธีนี้ก็จะช่วยไม่ให้สมอบกรับภาระมากจนเกินไปฮะ

คลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ

 

พื้นฐานการนอนเต็นท์ของเราคือ การนอนเต็นท์มักจะนอนในที่สงบ รถเข้าไม่ถึง ต้องแบกของไปเอง เพราะฉะนั้น อุปกรณ์ทั้งหลายต้องไม่หนักจนเป็นภาระในการเคลื่อนย้าย คืออุปกรณ์ต้องน้อยที่สุด เบาที่สุด เราจะมีแค่เต็นท์และฟลายชีทเท่านั้น เสา-สมอบกไม่เคยแบกไปให้หนัก เราใช้หลักว่า จะกางเต็นท์ระหว่างต้นไม้สองต้น ที่มีระยะไม่ห่างกันนัก ประมาณ๔-๖ม.กำลังดี พอถึงที่ๆมีชัยภูมิเหมาะสม ก็มองหาคาคบไม้ที่ความสูงประมาณ๓ม. ก็จะเอาเชือกผูกก้อนหินเหวี่ยงขึ้นไป ดึงเชือกขึงเป็นราว ปลายเชือกเอาลงมาผูกโคนต้นไม้ไว้ จากนั้น ก็จะเอาเชือกผูกก้อนหินผูกมุมฟลายชีทเหวี่ยงมุมฟลายชีทข้ามราวไป แต่ง-ขึงฟลายชีทก่อน โดยมุมฟลายชีททั้งสี่ก็จะผูกกับต้นไม้,กิ่งไม้หรือก้อนหินไว้ ตัวแผ่นฟลายชีทมักจะมีรอยต่อ รอยต่อจะต้องอยู่ในแนวตั้ง ห้ามอยู่แนวนอน เพราะฝนจะสะดุดรอยต่อหยดลงข้างใต้ได้ จากนั้นก็ค่อยกางเต็นท์ใต้ฟลายชีท

คลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ

 

ดึงฟลายชีทของเต็นท์ด้วยครับ ตรง 4 มุมน่าจะต้องดึงมาคล้องห่วงตรงเสาเต็นท์ด้วย ถ้าหย่อนอยู่ ตรงปลายชายล่างหาเอาหิน มามัดจุก แล้วใช้เชือกขึงให้ตึงลงพื้นครับ แนวทาง มุ้งต้องไม่ติดกับฟลายชีทของเต็นท์ ปล. คุณตัวใหญ่ด้วยแหละเลยแตะถูกปลายเต็นท ์ ไม่อยากเปลี่ยนให้ใหญ่ขึ้น หนักขึ้น อีกวิธีที่ทำกัน พยายามนอนทะแยง แล้วเอาถุงดำซ้อนทับถุงนอนตรงปลายเท้าอีกที ถ้าหัวติดอันนี้ใส่ฮูดเสื้อกันลมครับ

คลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ

 

กางอากาศหนาวๆ มีน้ำค้างซึมอยู่แล้วครับ เนื่องจากไอตัวเรามันร้อนพอไปกระทบกับฟรายชีทซึ่งอากาศข้างนอกเย็น จะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับบ ทางแก้เขาจึงออกแบบเต้นท์ให้มี 2 ชั้น ชั้นในจะเป็นตาข่ายเพื่อจะได้ระบายอากาศออกไปข้างนอก และชั้นนอกจะเป็นฟลายชีท ให้น้ำค้างเกาะฟลายชีทและกลั่นตัวหยดลงนอกเต้นท์ ถ้าน้ำค้างซึมเข้าด้านใน เป็นไปได้ว่า กางฟลายชีทหย่อน น้ำเลยหยดเข้าเต้นท์ หรือลมตีมันเลยเปียกด้านในบ้าง ทางแก้คือ กางฟลายชีทให้ตึง ปรับให้ตึงด้วยสมอบกครับ เต้นท์ จขกท ฝนหนักหน่อยก็ไม่เป็นไร น่าจะกันได้ครับ ไม่จำเป็นต้องซื้อฟลายชีทมาคลุมเพิ่ม

คลิก! อ่านกระทู้ต้นฉบับ

 

สินเชื่อบ้านไทยพาณิชย์ดีไหม? มาฟังข้อมูลที่บอกเลยห้ามพลาดจากชาว Pantip ในปี [2022] กัน!

มาสรุปข้อมูลกันดีกว่าว่าชาว Pantip มีคำแนะนำเกี่ยวกับการกางฟลายชีทที่น่าสนใจอย่างไรกันบ้าง?

ฟลายชีท pantip

ชาว Pantip ค่อนข้างที่จะมีคำแนะนำในการกางฟลายชีทที่หลากหลาย แต่โดยทั่วไปแล้วเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการกางฟลายชีทที่ไม่ควรพลาดนั้น มีดังต่อไปนี้

 

  • ชาว Pantip แนะนำ ควรขึงกางฟลายชีทของเต็นท์ให้แน่นด้วยการปรับตึงด้วยสมอบก เพื่อป้องกันน้ำค้างกลั่นตัวหยด ฝนซึมและลมพัดผ่านมากจนเกินไป
  • ชาว Pantip แนะนำ ส่วนของมุ้งในเต็นท์จะต้องไม่ติดกับฟลายชีท
  • ชาว Pantip แนะนำ ให้กางเต็นท์ระหว่างต้นไม้สองต้น แล้วผูกเชือกระหว่างกลางเพื่อเป็นแกนของฟลายชีทแทนการพกเสาที่มีน้ำหนักสูง
  • ชาว Pantip แนะนำ ขณะกางฟลายชีทต้องให้รอยต่ออยู่ในแนวตั้ง เพราะหากเป็นแนวนอนจะทำให้น้ำฝนสะดุดรอยต่อแล้วหยดลงข้างล่างได้
  • ชาว Pantip แนะนำ การตอดสมอบกเพื่อให้ฟลายชีทตึง ควรตอกในบริเวณที่มีวัชพืชแล้วรอยเชือกรวบสมอบกเข้ากับวัชพืชเพื่อช่วยผ่อนภาระให้กับสมอบกเมื่อลมแรง หรือใช้ขวดน้ำลิตรใส่น้ำให้เต็มพันเชือกถ่วงเอาไว้ก่อนที่จะถึงสมอบก หากลมพัดแรงมากขวดน้ำจะช่วยลดภาระของสมอบกให้น้อยลง

 


การกางฟลายชีทยากไหมคะ?

ที่จริงแล้วการกางฟลายชีทไม่ยาก ขอเพียงแค่ให้ความใส่ใจในเคล็ดลับการกางเพียงเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจัดการกับสายฝนและลมแรง ที่คอยรบกวนการนอนหลับพักผ่อนได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน

 

[5] เคล็ดลับดี ๆ ที่ชาว Pantip อยากแบ่งปัน! กู้ซื้อบ้านกับธนาคารอย่างไรให้ผ่านแบบง่าย ๆ

บทสรุปส่งท้าย : การกางฟลายชีทไม่ยากอย่างที่คิด ขอเพียงแค่ทำตามคำแนะนำของชาว Pantip!

ฟลายชีท pantip

จากข้อมูลในข้างต้นจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วชาว Pantip เองก็มีวิธีการกางฟลายชีทที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ตั้งอยู่บนหลักการที่ค่อนข้างคล้ายกัน ขอเพียงแค่ขึงฟลายชีทให้ตึง เพียงท่านี้ก็จะสามารถรับแรงลม ฝน ที่คอยกวนใจในขณะที่กำลังตั้งแคมป์ได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน…

จิปาถะLatest articles in the category