ฉบับย่อ :
|
ตุ่มใสในปากเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง? ลองมาฟังคำแนะนำจากชาว Pantip ที่เคยผ่านประสบการณ์นี้กัน!
“ตุ่มใสในปาก” เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติที่มีโอกาสที่จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่กับคนที่เกิดตุ่มใสในปากขึ้นเป็นครั้งแรกก็คงจะสร้างความกังวลให้กับตัวเองไม่น้อยเพราะไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นจากอะไรและเป็นอันตรายหรือเปล่า?
ถ้าหากใครกำลังมีปัญหาตุ่มใสในปากกวนใจ ลองมาฟังข้อมูลสาเหตุที่น่าสนใจจากชาว Pantip ที่เคยผ่านเรื่องนี้กันก่อนว่ามันสามารถเกิดขึ้นจากอะไรกันได้บ้าง? เพื่อที่จะได้วางแผนรับมือกับปัญหาอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
[8] วิธีเป่าเพี้ยง! ให้เข่าหายปวด ชาว Pantip ลองแล้วได้ผลชัวร์!
ตุ่มใสในปากเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง? มาฟังข้อมูลจากชาว Pantip กันเลย!
ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาตุ่มใสในปากขึ้นนั้น ชาว Pantip ได้พยายามแนะนำว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
จากอาการที่เล่ามา การพบตุ่มในปาก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แผลร้อนใน ในปาก ซึ่งอาจเกิดตามหลังการบาดเจ็บที่ปาก การแปรงฟันแรงเกินไป การกัดปากโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือปัจจัยเรื่องของความเครียด การอดนอนก็กระตุ้นทำให้มีแผลในปากได้ ซึ่งอาการของแผลร้อนใน มักจะหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หรือสาเหตุอาจเกิดจากแผลระคายเคืองจากสารเคมี เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากได้ และอาจเกิดจากการฉีกขาดท่อน้ำลายได้ เป็นต้นค่ะ ทั้งนี้ การดูแลตัวเองเบื้องต้น แนะนำว่าไม่ไปแกะตุ่มในปาก ไม่เอาฟันไปกัด แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนๆ แปรงฟันเบาๆวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น หากมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย อาจใช้ยาแก้ปวด ยาทา หรือยาต้านการอักเสบได้ค่ะ แต่ถ้าตุ่มใสตุ่มโตเร็ว ตุ่มไม่หายไป เจ็บมาก ปวด บวม มีหนอง มีไข้ เป็นแผลในปากเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ แนะนำให้คุณกลับไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการ อีกครั้ง และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ
จากอาการที่เล่ามา การเกิดตุ่มใสในปาก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น แผลร้อนในในปาก ซึ่งอาจเกิดตามหลังการบาดเจ็บที่ปาก การแปรงฟันแรงเกินไป การกัดปากโดยไม่ได้ตั้งใจ การทำฟัน หรืออาจเกิดจากมีปัจจัยกระตุ้น เช่นความเครียด การอดนอนก็กระตุ้น ทำให้มีแผลในปากได้ค่ะ หรืออาจเกิดจากก้อนน้ำลายในช่องปากเกิดรอยฉีกขาดเล็กๆ ทำให้ต่อมน้ำลายรั่ว ซึ่งมักจะไม่เกิดหลายๆตุ่มพร้อมกัน และสาเหตุอาจเกิดจากแผลในปากจากโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง แต่เกิดได้น้อยมากๆค่ะ ในเบื้องต้น แนะนำให้ลองสังเกตอาการดูนะคะ หากตุ่มใสในปากมีอาการเรื้อรังไม่หายไปหรือมีอาการเจ็บ ปวด บวม มีหนอง แนะนำให้คุณ ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ ส่วนการดูแลตัวเองเบื้องต้น แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนๆ และสุกสะอาด แปรงฟันเบาๆวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นให้สม่ำเสมอขึ้นค่ะ นอกจากนี้ แนะนำว่า ไม่ควรไปแกะหรือขูดตุ่มในปาก และยังไม่เอายาอะไรไปทาเอง เพราะยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่ชัดค่ะ
เป็น mucocele ค่ะ เกิดจากท่อน้ำลายฝอยๆ ฉีกขาด พวกเมือกในน้ำลายไหลออกไม่ได้ เลยคั่งเป็นตุ่มๆ ขึ้นมา พวกนี้ถ้าบีบหรือมักแตกเอง จะมีน้ำเป็นเมือกๆ ออกมา ปกติมักจะหายเอง แต่ถ้าเป็นซ้ำๆ บ่อยๆ อาจต้องไปตัดออก
ถ้าร้อนใน ดื่มน้ำเยอะๆ เครียดรึเปล่าพักผ่อนให้มากๆค่ะ ถ้าจะเร็วหน่อยก็ร้านขายยาจะมียาทาแก้ร้อนในนะคะ ทาสองสามวันก็หายแล้วค่ะยาไม่แพงหรอกไม่ถึง 20 มั้ง
[10] เรื่องสำคัญที่ชาว Pantip อยากให้รู้ก่อนเข้ารับการผ่าคลอด!
มาสรุปข้อมูลที่น่าสนใจกันดีกว่าว่าตุ่มใสในปากนั้น ชาว Pantip มีความเห็นว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันได้บ้าง?
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการหาข้อมูล ลองมาฟังข้อมูลจากชาว Pantip แบบสรุปย่อ ๆ ออกเป็นข้อ ๆ กันดีกว่าว่าตุ่มใสในปากเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง?
- ตุ่มใสในปากเกิดจาก แผลร้อนในในปาก
- ตุ่มใสในปากเกิดจาก อาการบาดเจ็บเป็นแผลที่ปาก เช่น แปรงฟันมากจนเกินไป กัดปาก ความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
- ตุ่มใสในปากเกิดจาก อาการระคายเคืองจากสารเคมี เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
- ตุ่มใสในปากเกิดจาก การฉีกขาดของท่อน้ำลาย ต่อมน้ำลายรั่ว
ตุ่มใสในปากรักษาให้หายได้ไหมคะ?
ปกติแล้วตุ่มใสในปากสามารถรักษาได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการทายาทาแผลในปากซึ่งจะหายไปเองในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ถ้าหากมีอาการปวด บวมที่ตุ่มใสในปากเป็นเวลานานหลายวัน ขอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมจะเป็นการดีกว่า
[3] ยาละลายเสมหะที่ชาว Pantip แนะนำว่าคุณภาพสูง ใช้ดี แถมราคาประหยัด!
บทสรุปส่งท้าย : ตุ่มใสในปากเกิดจากอะไรได้บ้าง? หวังว่าข้อมูลจากชาว Pantip จะช่วยให้ได้รับคำตอบ!
หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลที่นำไปสู่การเกิดปัญหาตุ่มใสในปากจากประสบการณ์ของชาว Pantip กันไปแล้วในตอนต้น เชื่อว่า ณ ตอนนี้หลาย ๆ คนก็คงจะมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยนำไปสู่การป้องกันและรักษาตุ่มใสในปากได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน…