ฉบับย่อ :
|
ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปาก อันตรายหรือเปล่า ควรผ่าออกไหม? มาฟังคำตอบที่น่าสนใจจากชาว Pantip กัน!
“ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปาก” เป็นหนึ่งปัญหาในช่องปากที่หลาย ๆ คนอาจกำลังประสบอยู่ ซึ่งปัญหานี้มักจะทำให้เกิดความรู้สึกรำคาญ มักมีเศษอาหารติดและเกิดบาดแผลจากการเสียดสีในช่องปากได้ ทำให้หลายคนอาจกำลังมองหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรทำการรักษาปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากด้วยการผ่าตัดเอาออกดีหรือเปล่า?
ถ้าหากใครกำลังมองหาข้อมูลในประเด็นนี้อยู่ ลองมาฟังข้อมูลที่น่าสนใจจากชาว Pantip ที่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้กันดีกว่าว่ามีอะไรที่ควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจรับมือกับปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากอย่างไรกันบ้าง?
[3] เรื่องน่ารู้ ที่นำไปสู่การเกิดอุจจาระสีเขียว แชร์ประสบการณ์ตรงจากชาว Pantip!
สิ่งที่ชาว Pantip อยากให้รู้เกี่ยวกับปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากมีอะไรกันบ้าง?
ในส่วนของข้อมูลที่เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่ควรพลาดเกี่ยวกับปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากอ้างอิงจากประสบการณ์ของชาว Pantip นั้น มีดังต่อไปนี้
พบได้ค่ะ ไปผ่าเถิด ไม่น่ากลัวอะไรหรอกเว้นแต่ยิ่งโตมากยิ่งแผลใหญ่ ราคาจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ค่ะแต่ไม่แพงมากนักหรอก(มั้ยนะ)
ตอนกินอาหาร ถ้าเศษอาหารไปติดแล้วรำคาญอาจจะขอผ่าได้ค่ะ ถ้าไม่อยากให้ใหญ่ขึ้น ต้องเคี้ยวอาหารอย่างระวัง อย่าเคี้ยวแรงค่ะ
เคี้ยวแรงจะโตขึ้นค่ะ (ถามคุณหมอมาคะ) ถ้าโตจนรบกวนก็ต้องผ่าค่ะ ลองเคี้ยวอาหารอย่างระวังดู 1 ปีจะโตไหม อาจถ่ายภาพเก็บไว้ดูเป็นระยะๆ บางทีเราก็ไม่รู้เนอะ ไปเคี้ยวเม็ดมะขามบ้างไรบ้าง จริงน่าจะมีสอนตั้งแตเด็กๆว่าอย่าเคี้ยวแรงเดี่ยวปุ่มกระดูกจะงอกเป็นปัญหา เสียเวลาต้องผ่าตัด ถ้าปุ่มไปโตตอนชรามาก การผ่าตัดก็จะมีแต่ความเสี่ยงค่ะ
ถัาอยู่กทม. แนะนำไปรักษาที่คณะทันตแพทย์ จุฬา หรือ มหิดลก็ได้ค่ะ แต่ไปวันเวลาราชการ ไปเช้าหน่อยก็ดีนะคะ ค่าใช้จ่ายย่อมเยาว์แน่นอน แต่คิวนัดรักษาอาจจะช้ากว่าโรงพยาบาลเอกชนค่ะ
อยากจะทราบว่า จขกท ผ่าออกหรือยังนะ พอดีเรามีปัญหากระดูกงอกในปากเหมือนกัน ทันตแพทย์บอกว่ามีความจำเป็นต้องเอาออกเพราะว่าเราต้องใส่รากฟันเทียมตำแหน่งนั้นพอดี ถ้าไม่เอาออก ใส่รากฟันไปเลย จะมีความเจ็บมากเวลาเคี้ยวอาหาร ตอนหมอบอกก็ตกใจ คือเป็นตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่มีความรู้ตัวจริงๆ แต่พอผ่าฟันคุดออกไป เหงือกไม่มีความยุบลงเลย แถมยังมีความแข็ง และรู้สึกรำคาญมาก พึ่งได้สังเกตตัวเองจากหลังจากผ่าฟันคุด มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร แอบหนา 3-5 มิลลิเมตร แอบกลัวเบาๆ
เราเคยผ่าที่รพ.เกษมราษฎร์ ปุ่มใหญ่มาก ตอนนั้นสี่พันกว่าบาท ตอนนี้ไม่แน่ใจ ไปแผนกทันตกรรมรพ.ไหนก้อทำได้ค่ะ อย่าให้ใหญ่ไปกว่านี้ เพราะแผ่นปิดแผลที่เค้าใส่ให้มามันจะใส่ไม่ค่อยอยู่ โชคดีที่แผลในปากมักจะหายเร็ว
เป็นปุ่มกระดูกธรรมชาติ มักเป็นตามพันธุกรรมค่ะ และไม่จำเป็นต้องตัดออกเพียงทานอาหารระวังหน่อย เว้นกรณีต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้ในบางรายที่เสียฟันไปเยอะเเละต้องการให้ฟันปลอมแนบเหงือกเพื่อความแน่นจึงพิจรณาตัดออกค่ะ
อารมณ์น่าจะแบบผ่าฟันคุดครับ ก็เอามีดกรีด เอาสว่านตัดฟัน ดึงฟันออกมาทีละชิ้น แล้วก็เย็บแผลกลับครับ หน้าจะบวมประมาณ 2-3 วัน แล้วจะต้องกินยาแก้ปวดเม็ดสีชมพูให้ตรงเวลาด้วย ไม่งั้นปวดมาก หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ก็ไปตัดไหม ครับ
เสริมขนาดหน้าอกที่ไหนดี? สาว ๆ Pantip แนะนำ [8] สถาบันความงามที่ห้ามพลาดประจำปี #2021-2022
มาทำการสรุปข้อมูลที่น่าสนใจจากชาว Pantip กันดีกว่าว่าปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากเป็นอันตรายควรผ่าเอาออกหรือเปล่า?
สำหรับประเด็นปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากนั้น ความคิดเห็นของชาว Pantip แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากไม่จำเป็นต้องผ่าออก เพราะเป็นกระดูกตามธรรมชาติ เพียงแค่ต้องทานอาหารอย่างระมัดระวังเวลาเคี้ยวอาหารเท่านั้น
- ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากที่ต้องผ่าตัดออก กรณีที่ต้องใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ สวมฟันปลอมแนบเหงือก ใส่รากฟันเทียม หรือหากทานอาหารแล้วมีเศษอาหารติดสร้างความรำคาญ เป็นต้น
ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากควรผ่าออกไหมคะ?
ที่จริงแล้วปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากถือว่าเป็นกระดูกตามธรรมชาติที่ไม่ได้จำเป็นจะต้องทำการผ่าออก ถ้าหากไม่ได้สร้างปัญหาอะไรให้กับชีวิต นอกจากมักมีเศษอาหารไปติดอยู่เท่านั้น แต่ถ้าเศษอาหารสร้างความรำคาญให้ การผ่าเอาออกในช่วงอายุน้อย ๆ จะเป็นการดีกว่า
โปรไบโอติกของหมอมีนทานตอนไหนร่างกายได้ประโยชน์ที่สุด? แนะนำวิธีทานที่ถูกต้องจากชาว Pantip [2022]
บทสรุปส่งท้าย : ปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากอันตรายหรือเปล่า หวังว่าข้อมูลจากชาว Pantip จะช่วยให้ได้รับคำตอบ!
หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลของปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากจากชาว Pantip ในข้างต้นกันไปแล้ว เชื่อว่า ณ ตอนนี้หลาย ๆ คนก็คงจะสามารถมองเห็นภาพรวมกันได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นว่าปุ่มกระดูกบริเวณเพดานปากไม่ได้อันตรายอย่างที่เข้าใจ ส่วนจะทำการผ่าออกหรือเปล่านั้นก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของช่องปากแต่ละคนเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน…