ชาว Pantipกับโรคซึมเศร้าโรคใกล้ตัวที่ไม่มีใครอยากเจอ
ทุกวันนี้มีอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้น!? น่าตกใจจริงๆทั้งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดแต่ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้นกลับสวนทางกันขนาดนี้? ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะการเปลี่ยนไปของสังคมและวัฒนธรรมและอีกสิ่งที่ส่งผลมากคือครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่ดูแลการเจริญเติบโตของเด็กๆจึงบอกได้ว่าสถาบันครอบครัวจะส่งผลต่อเด็กที่โตขึ้นมาเป็นอย่างมาก สิ่งที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวอาจส่งผลต่อความคิดและทัศนะของเด็กในเรื่องนั้นๆ ส่วนโรงเรียนก็ส่งผลไม่แพ้กันเนื่องจากเมื่อโตขึ้นเด็กๆจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่โรงเรียนและเพื่อนๆ ครู มีผลต่อความคิดและทัศนะในการมองเรื่องต่างๆอย่างชัดเจน และในบทความนี้ชาว Pantip จะเล่าประสบการณ์และวิธีรับมือกับโรคนี้ ถึงจะยาก แต่ก็ยอมแพ้ไม่ได้!
ชาว Pantip เล่าประสบการณ์และการรักษา [โรคปลายประสาทอักเสบ] ปี 2022
โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร? ชาว Pantip มาตอบ
อาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า มักเกิดจาก การได้รับความกดดันจากภายนอกที่รุมเร้าร่วมเข้ามา ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงหลายๆ อย่างในตัวเองทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีและระบบฮอร์โมนต่างๆ ในสมอง เกิดมีอาการต่างๆ ตามมาทั้งทางกายและใจ เช่น ความคิดเห็น
มุมมองต่อสิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ หรืออาจจะมีอาการนอนไม่หลับ มองโลกในแง่ร้าย ขาดสมาธิ ไม่ค่อยอยากจะเข้าสังคม รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไม่มีใครช่วยได้ โกรธและหงุดหงิดง่าย ไร้พลัง รวมถึงการแสดงออกทางร่างกาย ได้แก่ ปวดท้อง มึนศีรษะ หายใจถี่ขึ้น
จนต้องถอดหายใจบ่อยๆ ได้เป็นต้นค่ะ
ทั้งนี้ โดยส่วนมากคนที่เกิดภาวะซึมเศร้า มักจะไม่รู้ตัวเองค่ะ ในเบื้องต้นลองสังเกตตัวเองจากการเปลี่ยนแปลงภาวะของอารมณ์ ว่าเกิดจาก
ความเครียดหรือมีอาการคล้ายจะเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้หาวิธีที่จะช่วยผ่อนคลายไม่ให้ภาวะอารมณ์นั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันก่อนนะคะ
เช่น การไปออกกำลังกาย หางานอดิเรกทำ ดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงการพูดคุยระบายความรู้สึกกับคนใกล้ชิด จะทำให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ
แต่หากมีอาการรุนแรง จนไม่สามารถรับรู้ได้ว่าตัวเองเป็นอะไร ไม่เข้าใจตัวเอง อาจจะต้องเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการและ
รับการรักษาที่เหมาะสม เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจเกิดเป็น สภาวะทางอารมณ์ที่เรื้อรังได้ค่ะ
ชาว Pantip แชร์เช็คลิสต์สำหรับโรคซึมเศร้า
เช็คลิสต์ “โรคซึมเศร้า” มีองค์ประกอบ 5 อย่างดังนี้
• มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เคยทำแล้วรู้สึกชอบ แต่กลับเกิดความเบื่อหน่าย
ไม่อยากทำและเป็นอยู่อย่างนั้นแทบจะทุกวัน เบื่ออาหาร งานอดิเรกที่เคยชอบก็ไม่ชอบ
• นอนไม่หลับกระสับกระส่าย
• รู้สึกว่าตัวเองเหมือนไม่มีคุณค่า
• รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
• รู้สึกว่าตัวเองอยากฆ่าตัวตาย
หากมีอาการเหล่านี้นานกว่า 2 สัปดาห์ก็บ่งชี้ว่ามีอาการของ “โรคซึมเศร้า” เข้าให้แล้วสามารถตรวจทางด้านจิตเวชได้โดยใช้ “การทดสอบทางจิตวิทยา” หรือ Psychological Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยประกอบด้วยการทดสอบทางจิตเวช กับการทดสอบบุคลิกภาพครอบคลุมถึงการตรวจทางด้านจิตใจ ความคิด โดยอาศัยการซักประวัติผู้ป่วยเป็นหลักและทำการตรวจร่างกายหรือการตรวจ LAB เลือดเพื่อเอามาตัดโรคบางชนิดที่เป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่น การขาดวิตามินบี12 หรือมีไทรอยด์ผิดปกติ ขณะที่บางรายเป็นโรคมะเร็ง รวมทั้งโรคอื่นที่สร้างความเจ็บปวดทำให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้าตามมา
ชาว Pantip เปิดเผยวิธีรักษาตากุ้งยิงเร่งด่วนปี 2022 ทำกันอย่างไร?
โรคซึมเศร้าต่างจากโรคเครียดอย่างไร? ชาว Pantip มาตอบ
ถ้าคุณยังไม่เคยพบแพทย์ มันจะเป็นข้อสงสัยของคุณเองและผู้อื่นตลอดไป
อย่าคิดไปเอง อย่าใช้สามัญสำนึก ต้องใช้หลักวิชาแพทย์เท่านั้น
ทำไมไม่เปลี่ยนข้อสงสัยของคุณให้เป็นความจริง ผู้อื่นจะได้หมดห่วงคุณไปด้วย
หลังจากคุณพบแพทย์แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคอะไรหรือไม่
คุณต้องกลับมาเตรียมตัวต้อนรับมรสุมชีวิตลูกถัดๆไป เช่นเดียวกับผู้อื่น เป็นธรรมดา
ชาว Pantip แบ่งปัน”วิธีอยู่เคียงข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า”
วิธีอยู่เคียงข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
“โรคซึมเศร้า” ความหมายของโรคนี้ไม่ต้องพูดให้มากความกันแล้วถูกไหมคะคุณผู้อ่าน เพราะ ณ ตอนนี้มีบทความจิตวิทยา เพจทางด้านสุขภาพจิต หรือการเสวนาในหัวข้อ “โรคซึมเศร้า” ที่มีนักจิตวิทยา จิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” เต็มไปหมด
แต่เมื่อเราพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับ “การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า” กลับมีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญน้อย จะมีที่เรียกว่าฮอต ๆ เลยก็จำพวกกระทู้ใน pantip ที่ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาตอบจะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาประกอบการตอบมากกว่าการนำประสบการณ์ หรือผลงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญมาตอบ
Bill Bernat อดีตผู้ติดยาเสพติดที่มีโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ร่วมด้วย ซึ่งตอนนี้ได้ผันตัวเองมาเป็นนักพูดผู้สนับสนุนให้ผู้คนมีความตระหนักด้านสุขภาพจิต โดย Bernat ได้พูดถึงเรื่องการเข้าถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อย่างน่าสนใจค่ะ Bernat ได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีความรู้สึกสิ้นหวัง และมีความลังเลใจว่าจะทำร้ายตัวเองให้มันพ้นจากโลกนี้ไปเลยดี หรือรักษาชีวิตไว้ก่อนเพื่อรักษาให้หายจากโรคซึมเศร้าดี แล้วชีวิตของพวกเขาก็จะวนเวียน ๆ อยู่ระหว่างสองแผนกในโรงพยาบาล คือ แผนกฉุกเฉินที่เข้าไปรักษาตัวจากการทำร้ายตัวเอง และแผนกจิตเวชที่รักษาโรคซึมเศร้า เหตุผลที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความคิดเช่นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาเกิดความสงสัยในคุณค่าของตัวเอง ยิ่งมีคนนอกครอบครัว เช่น เพื่อนทั่วไป เพื่อนร่วมงาน หรือคนทั่วไป รู้ว่าพวกเขา “เป็นโรคซึมเศร้า” ยิ่งไปตอกย้ำว่าพวกเขาไม่มีคุณค่า
ดังนั้นแล้ว เพื่อให้คนที่เรารัก คนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทของเรารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น Bernat จึงมีข้อแนะนำในการ “เข้าถึงใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า” ดังนี้ค่ะ
1.อนุญาตให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ระบายความคิด ความรู้สึกอย่างเต็มที่
ไม่ว่าคน ๆ นั้น จะป็นเพื่อน เพื่อนสนิท สามี ภรรยา ลูก หรือคนในครอบครัว หากเขาพร้อมที่จะพูด ขอให้คุณผู้อ่านรับฟังอย่างตั้งใจ โดยไม่ตัดสิน และไม่พูดแทรกค่ะ เพราะ Bernat ได้แชร์ความรู้สึกว่าการที่เขาได้บอกความรู้สึกที่จมดิ่งในความซึมเศร้า มันทำให้เขามีความรู้สึกดีขึ้นมาก
2.มีมุมมองว่า “โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่เกิดได้ปกติ สามารถรักษาได้ หายได้ ใช้ชีวิตปกติได้
เมื่อคนรอบข้างของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปฏิบัติต่อพวกเขาเช่นปกติธรรมดาเหมือนตอนก่อนป่วย หรือพูดถึงโรคซึมเศร้าเหมือนโรคหวัด ภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเกิดความรู้สึกว่า “ฉันไม่ได้ผิดปกติ” แล้วก็จะตามมาด้วยแรงจูงใจว่า “เดี๋ยวมันก็หาย” และพวกเขาจะดูแลตัวเองดีขึ้นค่ะ
3.อย่าปิดกั้นสังคมจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรงค่ะ ดังนั้นหากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการออกไปพบปะเพื่อนฝูง ต้องการออกไปปาร์ตี้ หรือมาชวนคุณผู้อ่านไปเที่ยว สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขาก็คือ เต็มที่ไปเลยจ้า เพราะการเข้าสังคมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคซึมเศร้าที่ได้ผล สามารถลดความวิตกกังวล และลดการเกิดความคิดฟุ้งซ่านได้ดีกว่าปล่อยให้พวกเขาอยู่ตามลำพังแน่นอนค่ะ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อนที่ออกไปเจอต้องเปิดกว้างและมีแนวคิดเชิงบวกต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้านะคะ ไม่อย่างนั้นแล้วผลจะกลายเป็นตรงข้ามซึ่งจะแย่กว่าเดิม
4.อย่าพยายามหาคำตอบว่า “เพราะอะไรผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจึงเป็นเช่นนี้ ?”
แต่ให้เข้าใจในตัวตนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแทนค่ะ พูดง่าย ๆ ก็คือ อย่าไปตั้งคำถาม คาดคั้นให้พวกเขาตอบว่า “ทำไมคิดแบบนี้ละ ?” “ทำไมไม่ทำแบบนี้ละ ?” แต่ขอให้เปิดใจกว้าง ๆ แล้วทำความเข้าใจว่าพวกเขาต้องการอะไรกันแน่ แล้วเราสามารถช่วยอะไรพวกเขาได้บ้าง
5.อย่ายัดเยียดความคิดของเราไปให้เขา
การพูดคุยให้คำปรึกษาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการค่ะ แต่การที่ไปบอกพวกเขาย้ำ ๆ ว่า เขาต้องทำอะไรแล้วชีวิตถึงจะดีขึ้น หรือการนำวิธีที่ได้ผลกับคนหนึ่งไปใช้กับอีกคนหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลเสมอไป เพราะการรักษาโรคทางใจเป็นเรื่องของรายบุคคลค่ะ วิธีที่เป็นการรักษาดีเยี่ยมสำหรับคนหนึ่ง อาจจะเป็นการทำร้ายอย่างรุนแรงกับอีกคนหนึ่งได้เลย เพราะฉะนั้นคุณผู้อ่านต้องระวังในส่วนนี้ให้ดีนะคะ
6.ยอมรับข้อจำกัดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
อย่างที่คุณผู้อ่านทราบกันดีค่ะว่าพวกเขามีข้อจำกัดใหญ่ ๆ ข้อหนึ่งเลย ก็คือ ความมั่นคงของอารมณ์ บางครั้งเห็นเขาหัวเราะกับเราเรื่องหนึ่งอยู่ดี ๆ ซักครู่หนึ่งอาจเห็นเขาหลบไปร้องไห้อยู่คนเดียวแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้วอย่าคาดหวังว่าพวกเขาจะอารมณ์ดีตลอดเวลา แต่ขอให้อยู่เคียงข้างพวกเขาอยู่เสมอแทนค่ะ
7.ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ามามีกิจกรรมร่วมกับคุณผู้อ่าน
เช่น ทำงานบ้าน กินข้าว ดูภาพยนตร์ เอาเป็นว่าก่อนเขาป่วยเราเคยทำอะไรร่วมกันก็ขอให้ลองชวนเขามาทำกิจกรรมนั้นเหมือนเคยนะคะ เพราะกิจกรรมในชีวิตประจำวันง่าย ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ “สร้างความหมายในการมีชีวิต” ให้กับพวกเขา และทำให้พวกเขารู้สึกว่า “ฉันไม่ใช่ตัวประหลาด”
มีรุ่นพี่ที่เป็นนักจิตวิทยาท่านหนึ่งพูดกับสามีของผู้เขียนซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของพี่เขาว่า “การออกไปนอกบ้านสำหรับเราน่ะเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นคือการเอาชนะตัวเองที่ยิ่งใหญ่” ความหมายที่พี่เขาสื่อก็คือ อะไรที่เราเห็นว่าง่าย ที่เราทำได้ อย่าคาดหวังว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะทำได้เหมือนเดิม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายในสมองของพวกเขาที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และรูปแบบการใช้ชีวิต ดังนั้นแล้วการช่วยที่ดีที่สุดคือการอยู่เคียงข้างในทุกสถานการณ์และเปิดใจรับฟังความรู้สึก ความคิดและจิตใจของพวกเขาค่ะ
สรุปสิ่งที่ชาว Pantip อยากให้รู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
ชาว Pantip เล่าเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
– ชาว Pantip อธิบายว่าการจะรู้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น จะต้องพบแพทย์เฉพาะทางและได้รับการวินิจฉัยถึงอาการถึงจะการันตีได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
– ชาว Pantip เล่าวิธีอยู่เคียงข้างกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งวิธีที่ได้แชร์นี้เป็นวิธีที่ได้จากประสบการณ์ตรงของผู้ป่วยโรคนี้ดังนั้น มั่นใจว่าวิธีที่ได้กล่าวไปนี้จะได้ผลแน่นอน!
บทสรุปส่งท้าย : โรคซึมเศร้ากับสิ่งที่ชาว Pantip แบ่งปันจากประสบการณ์จริง
เห็นไหมว่าทุกวันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเลยที่มีอาการของโรคซึมเศร้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แต่ถึงอย่างไรโรคนี้ไม่ได้มาจากสภาวะภายนอกเท่านั้นส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภายในด้วย รวมทั้งเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองที่ส่งผลให้มีความคิดแง่ลบ
โรคซึมเศร้าเป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่จำกัดตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จำเอาใจใส่คนใกล้ตัวโดยไม่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกในแง่ลบมากเกินไป พยายามยิ้มให้กัน ให้กำลังใจกัน เพราะสิ่งที่จะช่วยได้ดีกว่าการรักษาโรคซึมเศร้าคือการป้องกันโรคซึมเศร้า! กำลังใจจากคนใกล้ตัวหรือคนที่รักจึงเป็นสิ่งสำคัญ!